การซ่อมเพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์หรือว่า Power ATX ในยุคปัจจุบันนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากราคามือสองนั้นไม่ได้แพงมากนักทำให้ช่างไม่อยากเสียเวลาในการรับซ่อมเพราะต้องใช้เวลาในการซ่อมนานรวมทั้งการถอดประกอบแม้จะดูง่ายๆแต่จริงๆค่อนข้างยุ่งยากในการตรวจเช็คหาอุปกรณ์ที่เสีย
สำหรับเพาเวอร์ซัพพลายแบรนด์ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนก็ตามด้วยรูปทรงเฉพาะที่ไม่อาจเอารุ่นอื่นๆมาทดแทนได้แม้แต่ยี่ห้อเดียวกันก็ตามเนื่องจากบางรุ่นใช้ Connector 6Pin บางรุ่นใช้ Connector 8Pin แม้ว่าจะสามารถโมดิฟายใช้ด้วยกันได้แต่ก็มีช่างน้อยคนที่จะรู้รายละเอียดเนื่องจากรายละเอียดฮาร์ดแวร์ด้านระบบไฟเป็นเรื่องของอิเล็คทรอนิคส์ล้วนๆ ควรต้องรู้เรื่องอิเล็คทรอนิคส์พื้นฐานอย่างดี
บทความที่เกี่ยวข้อง เฉลยซ่อม Power Supply Dell ใช้มิเตอร์เข็มวัดโอห์ม (เบื้องต้น 2) ใช้มิเตอร์เข็มเช็คสัญญาณพัลส์(สวิทชิ่ง) การใช้มิเตอร์เข็มวัด Mosfet |
บทนี้จะมาแนะนำขั้นตอนการซ่อมเพาเวอร์ซัพพลายแบรนด์ Dell รุ่น Optiplex 9020 ซึ่งหลักการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นนี้ก็เหมือนเพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือเป็นแบบ ATX 8Pin มีรายละเอียดดังนี้
Connector ATX 8Pin
⌑ เส้นสีเขียวคือ Ps_on มีแรงดัน 5V
⌑ เส้นสีม่วงคือ 12VSB
⌑ เส้นสีขาวคือ ไฟ 12V
⌑ เส้นสีเทาคือ Power Good (Power OK)
⌑ เส้นสีดำคือ กราวด์(Ground)
Vcore 4Pin
⌑ เส้นสีเหลืองคือไฟ 12V
⌑ เส้นสีดำคือ กราวด์(Ground)
ขั้นตอนการตรวจเช็คให้วัดไฟ 12VSB และไฟ 5V Ps_on หากไม่มีให้เช็คอุปกรณ์ตามภาพด้านล่างซึ่งเป็นฝั่งไพรมารี่ประกอบไปด้วย
① C ฟิลเตอร์ค่า 220μF400V
② R 0.5Ω สามารถใช้ค่าต่ำๆระหว่าง 1Ω-10Ω แทนได้ในกรณีหาค่าเดิมไม่ได้
③ IC TNY290 ไอซีเบอร์นี้ในเบื้องต้นสามารเช็คโดยการวัดโอมห์ได้(เช็คเหมือน TNY280)
>>> ตามบทนี้ <<<
หากเราซ่อมฝั่งไพรมารี่เสร็จเรียบร้อยไฟ 5V Ps_on และไฟ 12VSB ออมาครบให้ลองจั๊มออนเครื่องซึ่งรุ่นนี้ไม่ต้องหาลวดหรือสายจั๊มให้ยุ่งยากเพราะด้านหลังจะมีสวิทให้กดได้พร้อมไฟสถานะโชว์ด้วยหลังจากที่กดสวิทด้านหลัง(กดค้างไว้)ไฟชุดที่เหลือก็จะจ่ายออกมาปกติ
แต่ต้องไปลองบูทกับเมนบอร์ดดูก่อนเพราะบางทีเราวัดไฟขณะไม่มีโหลดไฟออกปกติแต่เมื่อต่อโหลดหรือเสียบเข้ากับเมนบอร์ดกลับไม่สามารถบูทเครื่องได้ เช่น มีอาการติดดับๆ วนไปเรื่อยๆ ให้ทำการถอด C ฟิลเตอร์ฝั่ง Output ออกมาเช็คทุกตัว อย่างเช่นรูปด้านล่างเช็ค C ด้วยเครื่อง Multifunction LCR-T4
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางสำหรับการซ่อม Power Supply Dell Optiplex ซึ่งในหน้างานของแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปจุดเสียอาจเป็นไปตามนี้หรือจะแตกต่างไปจากนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง การใช้งานมิเตอร์เข็ม(เบื้องต้น 1) ใช้มิเตอร์เข็มวัดโอห์ม (เบื้องต้น 2) ใช้มิเตอร์เข็มเช็คสัญญาณพัลส์(สวิทชิ่ง) การใช้มิเตอร์เข็มวัด Mosfet |