การใช้งงานมิเตอร์อนาล็อกหรือนิยมเรียกกันง่ายๆว่ามิเตอร์เข็มชื่อเรียกอย่างเป็นทางการก็คือมัลติมิเตอร์ (Multimeter) ที่มาของชื่อเรียกมาจากคำว่า Multi ซึ่งแปลว่าหลากหลาย,มากมาย และคำว่า Meter หมายถึงเครื่องวัด รวมกันคือเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าหลากหลาย ฟังดูชื่อนอกจากจะยาวแล้วยังแปลกหูอีกดังนั้นเรียกว่ามัลติมิเตอร์จะง่ายกว่าหรือเรียกกันภาษาพูดว่ามิเตอร์เข็มก็จะเข้าใจครอบคลุมกว่า
ตัวมัลติมิเตอร์ใช้วัดค่าต่างๆได้หลายค่า เช่น ค่าแรงดัน(Voltage)ค่ากระแส(Current)ค่าความต้านทาน(Resistance)บางรุ่นสามารถวัด frequency,ค่า Diod หรือค่าอื่นๆภายในเครื่องเดียวได้อย่างเช่นรุ่นนี้ที่นำมาเป็นตัวอย่างเป็นยี่ห้อ Sanwa รุ่น YX-361TR ในบทนี้จะแนะนำในส่วนของต่ำแหน่งต่างๆและชื่อเรียกบนตัวมิเตอร์เข็ม ซึ่งไม่ว่าจะรุ่นไหนหรือยี่ห้อไหนก็มักจะวาง Layout ไว้ในตำแหน่งที่คล้ายๆกันเมื่อทำความรู้จักกับตำแหน่งต่างๆแล้วก็จะใช้งานรุ่นอื่นๆได้เช่นเดียวกัน
①Indicator Zero Conector มีหน้าที่ตั้งค่าเข็มให้อยู่ตำแหน่ง 0 หรือตำแหน่งอื่นๆที่ต้องการ
②Indicator Pointer หรือ เข็มชี้บ่ง มีหน้าที่ชี้บ่งปริมาณต่างๆ
③Indicator Scale สเกลต่างที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอร์
④LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง
⑤Range Selector Switch knob ลูกบิดปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด
⑥0-ohms adjusting knob/0- centering meter ปุ่มปรับตั้งค่าความต้านทานให้อยู่ตำแหน่ง 0
⑦Measuring Terminal +เทอร์มินอลไฟบวก
⑧Measuring -Com เทอร์มินอลไฟลบ หรือ common
⑨Series Terminal Capacitor OUTPUT ใช้วัดค่าแรงดันกระแสสลับ
⑩Panel หรือ หน้าปัดมิเตอร์
⑪Rear Case หรือ กรอบมิเตอร์
②สเกลกระแสและแรงดันทั้ง AC และ DC
③0-centerig (NULL) +/- DCV scale
④สเกลวัดแรงดัน AC 2.5 volt.
⑤สเกลวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (hFE) มีสีน้ำเงิน
⑥สเกลสำหรับทดสอบแบตเตอร์รี่ 1.5 V 0.25A.
⑦สเกลวัดกระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (LEAK, ICEO, Ll)
⑧สเกลวัดความต่างศักย์ขณะปลายวัดความต้านทาน(LV)มีสีน้ำเงิน
⑨สเกลวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (dB) มีสีแดง
⑩Continuity Indicating LED ( CONTINUITY )หลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความต่อเนื่อง
⑪กระจกเงาเพื่อทำให้การอ่านค่าต่ำแหน่งเข็มชี้ของมิเตอร์ในกระจกซ้อนกันพอดี
Schematic Diagram
2รูปด้านล่างเป็นวงจรการทำงาน และตำแหน่งอุปกรณ์ต่างของมิเตอร์ Sanwa (YX-361TR)