ทั้งในคลิปวิดีโอด้วยเกี่ยวกับภาคจ่ายไฟอเนกประสงค์ของจีนที่เราเรียกกันว่าสวิทชิ่งจีนซึ่งจริงๆแล้วมันมีหลายเกรดมากๆบทนี้จะพูดถึงที่มีใช้กันแพร่หลาย(เข้าใจว่าน่าจะเป็นเกรดที่ราคาต่ำสุด)
ภายในวงจรนั้นจะใช้ IC PWM เบอร์ TL494 ซึ่งในสวิทชิ่งจีนเกรดดีๆจะเห็นว่าใช้เบอร์อื่นเช่นเบอร์ FAN4801 หรือ ML4800 เอาละในบทนี้เราจะมาพุดถึงรุ่นที่ใช้เบอร์ TL494 เรียกได้ว่าสวิทชิ่งจีนที่นำมาใช้ในบ้านเรา90เปอร์เซ็นต์เปิดเครื่องขึ้นมาต้องเจอเป็นเบอร์ TL494 แน่นอน
สำหรับอาการ TR switching ช๊อตบ่อย(ใส่เข้าไปกี่ตัวก็ช๊อตเหมือนเดิม)การวิเคราะห์แนะนำให้แยกเป็น2ประเด็นหลักๆคือช๊อตทันทีหรือว่าสักพักหนึ่งถึงเกิดการช๊อตการเสียใน 2 ลักษณะนี้แตกต่างกันอย่างไรแตกต่างกันแน่นอนครับเอาอย่างหลังก่อนคือโหลดมีปัญหาซึ่งอาจจะเป็นโหลดภายนอกคือโหลดที่นำไฟ Output ไปใช้หรือโหลดภายในตัวเพาเวอร์เองหลังจากภาคสวิทชิ่งไปแล้วซึ่งก็คือหม้อแปลงสวิทชิ่งหรือชุด Recgulate หลังขด Secondary
***หรืออาจจะเป็นที่คุณภาพของ TR ที่ซื้อมาเปลี่ยนใหม่ก็เป็นไปได้เหมือนกันและเป็นไปได้มากกว่าโหลดช๊อตด้วยเนื่องจากในวงจรสวิทชิ่งจีนนั้นมีวงจรโพรเทคในกรณีที่โหลตช๊อตนอกเสียจากว่าวงจรโพรเทคจะมีปัญหาไปด้วย
ต่อที่อาการเสียในลักษณะ TR ช๊อต(ระเบิด)ทันที ไม่ว่าจะเปลี่ยนกี่ตัวก็ระเบิดเหมือนเดิม จริงๆแล้วแค่ TR สวิทชิ่งช๊อตทั้ง 2 ตัวก็แทบไม่คุ้มค่าซ่อมตั้งแต่แรกแล้วฉะนั้นแรงจูงใจที่จะซ่อมก็คืออยากลองซ่อมดูหรืออยากซ่อมเอาความรู้ ถ้าเป็นเช่นนี้สิ่งที่จะแนะนำต่อคือต้องใจเย็นๆและใช้เวลาพอสมควรในการเรียนรู้ทำความเข้าใจการรีบร้อนจะเอาผลอย่างเดียวจะเข้าข่ายยิ่งทำยิ่งเละของก็พังความรุ้ก็ไม่ได้หงุดหงิดเสียอารมณ์สียเวลาอีกต่างหาก
ข้อแนะนำควรรู้
-ในการซ่อมภาคจ่ายไฟควรใช้หลอดไฟถ่วงเป็นโหลดทุกครั้ง
-ขา 13 ของ TL494 หากต่อลงกราวด์สัญญาณพัลส์ที่ออกจะเป็นสัญญาณแบบ Flyback ถ้าขา13 ต่อเขากับขา14สัญญาณพัลส์จะเป็นแบบ Push-Pull
คลิปสวิทชิ่งพื้นฐาน 5 แบบ