Translate

ใช้มิเตอร์เข็มวัดโอห์ม (เบื้องต้น 2)

     ใช้มิเตอร์เข็มวัดโอห์ม (เบื้องต้น 2)ต่อจาก ตอนที่1 บทความการใช้มิเตอร์เข็มทั้งหมดเขียนขึ้นเพื่อปูพื้นฐานเหมาะสำหรับนักศึกษาที่กำลังจะเข้าเรียนหรือ Rookie ที่กำลังสนใจศึกษาเหตุผลที่ไม่เขียนบทเดียวให้ครอบคลุมเพราะได้ทดสอบมาแล้วว่าการเขียนเป็นตอนๆสั้นๆ Rookie จะเข้าใจได้ดีกว่าเขียนเป็นบทเดียวครอบคลุมทั้งหมด

     การใช้มิเตอร์นิยมวัดกันใน2ลักษณะคือวัดโอห์มกับวัดไฟ หัวข้อวันนี้จะแนะนำการใช้งานการโอห์มหรือวัดความต้านทานแต่หากเรียกกันภาษาการสนทนาพูดคุยกันให้เข้าใจง่ายๆก็เรียกว่าวัดโอห์ม(อาจจะมีช่างบางกลุ่มเรียกว่าวัดเย็น)การวัดโอห์มคือการวัดหาค่าความต้านทานแบ่งเป็นการวัดในวงจรและการวัดนอกวงจรและในการทำงานนั้นก็จะเป็นเป็นการวัดเพื่อดูค่าและวัดเพื่อเปรียบเทียบอุปกรณ์ที่นิคยมวัดโดยการวัดโอห์มเช่น สายไฟหรือลายวงจร, ฟิวส์, ขดลวด, ตัวต้านทาน ฯลฯ


     การวัดโอห์มให้ดูตารางการวัดในหัวข้อที่1ของภาพบนจะสังเกตุเห็นว่าเข็มมิเตอร์จะตั้งต้นอยู่ด้านซ้ายแต่การอ่านค่าจะเริ่มต้นมาจากทางฝั่งขวา ข้อควรรู้ ในการตั้งย่านการวัดโอห์มคือที่ปลายสายวัดของมิเตอร์ขั่วบวก(+)จะเป็นแรงดันไฟลบมาจากภายในตัวมิเตอร์ และที่ปลายสายวัดขั่วลบ(-)จะเป็นแรงดันไฟบวกจากภายในตัวมิเตอร์เช่นกัน

     จากรูปด้านบนจะเป็นย่านการตั้งค่าสำหรับวัดโอห์ม จะสังเกตุเห็นว่ามีสัญลักษณ์ Ω (Ohme)กำกับอยู่มีอยู่ทั้งหมด 5 ตำแหน่งคือ
X1 : อ่านค่าตามที่ปรากฏบนสเกลมิเตอร์
X10 : อ่านค่าได้เท่าไหร่ให้คูณด้วย10
X100 : อ่านค่าได้เท่าไหร่ให้คูณด้วย 100 (บางรุ่นจะไม่มีตำแหน่งนี้)
X1K : อ่านค่าได้เท่าไหร่ตามทฤษฎีให้คูณด้วย 1000 แต่ในการทำงานจะอ่านตามจริงแล้วเรียกหน่วยเป็น K จะสื่อสารเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไม่ต้องเสียเวลาแปลงค่า
X10K : อ่านค่าได้เท่าไหร่ตามทฤษฎีให้คูณด้วย 10000 แต่ในการทำงานจะอ่านตามจริงคูณด้วย 10 แล้วเรียกหน่วยเป็น K จะสื่อสารเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วกว่า


     จากภาพด้านบนนี้ตารางสเกลบนสุดที่มีสัญลักษณ์รูป Ω (Ohme) กำกับอยู่คือตารางสเกลสำหรับอ่านค่าการวัดย่านวัดโอห์มทั้งหมดและรูปด้านล่างถัดมาคือสวิทเลือกย่านการวัดโดยการใช้งานให้เลือกไปที่ย่านการวัดที่สามารถอ่านค่าได้ง่ายที่สุด (ช่วงที่อ่านค่าง่ายสดุจะอยู่ช่วงกลางๆสเกล) สำหรับการอ่านค่าดุรูปสเกลประกอบเข็มตั้งต้นจะอยู่ต่ำแหน่งซ้ายสุดแต่เวลาการวัดค่าจะเริ่มอ่านจากต่ำเลขเลข 0 ด้านขวา

     สังเกตที่ขีดตามสเกลขีดหลักๆจะมีตัวเลขบอกกำกับไว้ ขีดรองลงมาก็จะแทนตัวเลขที่ไม่ได้ระบุไว้และในขีดย่อยๆก็จะเป็นสัดส่วนของแต่ละช่องตัวอย่างเช่น ช่อง 1 กับ 2 จะมีตัวเลขกำกับไว้และมีขีดย่อยๆภายในช่องช่องล่ะ 4 ขีด คิดตามสัดส่วนแล้วก็จะเท่าขีดละ 2 จำนวน ยกตัวอย่างเช่นวัดค่าความต้านทานตั้งย่าน X1 เข็มไปอยู่ที่ตำแหน่งเลยเลข 1 ไปทางด้านซ้าย 1 ขีด ค่าความต้านทานที่วัดได้ก็จะเท่ากับ 1.2Ω  แต่ถ้าตั้งสเกลไว้ที่ตำแหน่ง X10 ค่าที่อ่านได้จะเท่ากับ 12Ω แบบนี้เป็นต้น

     หรืออีกตัวอย่างหนึ่งถ้าตั้งสเกลไว้ที่ X1K วัดความต้านทานแล้วเข็มไปอยู่ตำแหน่งเลยเลข 5 ไปทางด้านซ้าย 3 ขีดค่าที่อ่านได้จะเท่าเก่า 6.5KΩ แต่ถ้าตั้งสเกลไว้ที่ต่ำแหน่ง X10K ค่าที่อ่านได้จะเท่ากับ 65KΩ แบบนี้เป็นต้น ในจุดที่ไม่ได้ยกตัวอย่างก็ให้ดุตามตัวเลขแต่ละช่องแต่ละขีดก็จะมีสัดส่วนที่เท่าๆกัน

     ในการวัดโอห์มหรือวัดความต้านทางทุกครั้งหากต้องการค่าที่แม่นยำให้ทำการ Set Zero ทุกครั้งโดยการตั้งสเกลวัดเสร้จให้ใช้ปลายสายวัดทั้ง 2 ขั่วมาชนกันแล้วปรับวอลลุ่มด้านซ้ายมือ ( 0Ω ADJ ) ให้เข็มไปอยู่ต่ำแหน่งเลข 0 ด้านขวามือ ยกเว้นการวัดสายไฟหรือลายวงจรว่าขาดหรือไม่ขาดไม้ต้องSet Zero ก็ได้

     ในส่วนของการวัดอุปกรณ์ต่างและการวัดเปรียบเทียบจะขอพูดถึงในบทอื่น ***ข้อควรระวังอย่างที่สุดของการใช้งานมิเตอร์เข็มคือท่องให้ขึ้นใจว่า ดูก่อนจิ้ม คือดูตำแหน่งสเกลทุกครั้งก่อนทำการวัดเพราะถ้าหากว่าเลอตั้งสเกลวัดโอห์มไว้แล้วไปวัดไฟเลยมิเตอร์ตัวโปรดอาจถึงกาลพังพินาศได้






.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง