Translate

ใช้มิเตอร์เข็มเช็คสัญญาณพัลส์(สวิทชิ่ง)

ในการซ่อมภาคจ่ายไฟ แน่นอนว่าในภาคจ่ายไฟเครื่องหนึ่งไม่ว่าจะแบรนด์ใดหรือเกรดไหน นอกจากแรงดันไฟแล้วก็ยังมีเรื่องของสัญญาณมาเกี่ยวข้องด้วยฉะนั้นในการซ่อมตรวจเช็คหรือตรวจซ่อมสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายในหน้างานจริงๆนั้นมีเรื่องของจุดคุ้มทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การจะหาเครื่องมือมาใช้จึงมีเรื่องของความคุ้มค่ามาเป็นต้นทุนฉะนั้นเองบางทีหน้างานจึงต้องทำงานด้วยเครื่องมือที่จำกัด







ในบทนี้จึงจะแนะนำการประยุกต์ใช้มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกหรือที่เรียกกันอย่างเข้าใจง่ายๆว่ามิเตอร์เข็มในการเช็คสัญญาณพัลส์(Pulse)จะยกตัวอย่างจากวงจรการทำงานของสวิทชิ่งจีนที่ใช้ IC PWM เบอร์ TL494 ซึ่งจะมีสัญญาณพัลส์ออกมาจากขาที่8 และขาที่11 โดยเป็นสัญญาณในแบบ Push-Pull แล้วส่งเข้าไปที่ขา B ของ TR Drive switching ตามรูปด้านล่าง








แรงดันที่ขาดังกล่าว(ขา8,ขา11)หากวัดเป็นแรงดันไฟจะวัดได้ประมาณ 2VDC ทั้ง 2 ขา ซึ่งหากเราคิดตามหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์แรงดันตกคร่อม VBE ประมาณ 0.6V ก็เพียงพอที่จะไบอัสให้ทรานซิสเตอร์ทำงานได้ แต่หากสงสัยว่าทรานซิสเตอร์ดังกล่าง(Drive switching)สามารถขยายสัญญาณได้หรือไม่ หรือว่าหม้อแปลงไดรสวิทชิ่งทำงานมีสนามแม่เหล็กหรือเปล่า แนะนำการประยุกต์การใช้งานจากมิเตอร์เข็มเนื่องจากสนามแม่เหล็กมีลักษณะเป็นคลื่นความถี่ ให้ตั้งย่านวัดไปที่ VAC เส้นสีดับจับที่ขั่วลบแล้วนำขั่วบวกไปแตะไกล้ๆหม้อแปลงหากเข็มมิเตอร์ขึ้นแสดงว่าหม้อแปลงสามารถกำเนิดสนามแม่เหล็กได้แล้วนั่นก็หมายความว่าทรานซิสเตอร์ทำงานแล้ว


ดังคลิปด่านล่างนี้





ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการประยุกต์ใช้งานมิเตอร์เพื่อทดสอบการทำงานของหม้อแปลง
ไม่ได้เป็นการวัดค่าและไม่สามารถระบุเป็นค่าความถี่ได้เพียงแต่เช็คว่ามีสัญญาณความถี่เกิดขึ้นเท่านั้น



----------------------------------------

สนใจส่งเมนบอร์ดซ่อม ราคาส่ง 
สอบถามช่องทางติดต่อด้านล่าง

 









.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง