มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกหรือช่างจะเรียกกันเพียงสั้นๆเข้าใจกันง่ายๆว่า"มิเตอร์เข็ม"หากจะถามว่าระหว่างมิเตอร์แบบเข็มกับมิเตอร์แบบดิจิตอล(มีตัวเลข)แบบไหนใช้งานดีกว่ากันต้องบอกว่าแล้วแต่ความถนัดของช่างแต่ละคนไม่มีแบบไหนดีไปกว่ากันเรื่องดีหรือไม่ดีนั้นเป็นเรื่องของคุณภาพมากกว่า
ช่างรุ่นก่อนมักจะแนะนำช่างรุ่นหลังว่าช่วงเริ่มต้นให้หัดใช้มิเตอร์ดิจิตอลไปก่อน.หลายคนจึงเข้าใจว่านี่เป็นการแนะนำว่ามิเตอร์ดิจิตอลดีกว่ามิเตอร์เข็ม.แต่จริงๆแล้วไม่ใช่อย่างนั้นที่ช่างรุ่นก่อนๆมักจะแนะนำไปแบบนั้นเป็นเพราะว่าถ้าเกิดตั้งย่านการวัดผิดพลาดมิเตอร์ดิจิตอลจะเสียหายได้ยากกว่า(ไม่แน่เสมอไป)โดยเฉพาะช่างใหม่ๆมีโอกาสสูงมากที่จะผิดพลาดได้
ในบทนี้จะแนะนำการซ่อมมิเตอร์เข็มรุ่นยอดฮิตและจุดเสียยอดฮิต.รุ่นนี้ผู้เขียนเองก็ชื่นชอบอย่างมากเช่นกันใช้งานง่ายเข็มค่อนข้างSmoothแต่ไม่ทนต่อการกระแทกแรงๆเช่นการทำตกจากที่สูงแต่ในล็อตหลังๆมามีความคงทนมากขึ้น.จุดเสียที่เป็นปัญหาอย่างต่อมาก็คือตั้งย่านวัดΩ(โอมห์)แล้วไปวัดไฟACโชคดีสุดก็แค่ฟิวส์ขาด(ซึ่งมีสำรองมาให้อยู่ภายใน)
แต่ถ้าหนักกว่านั้นก็อุปกรณ์เสียหายตรงนี้ค่อนข้างยากเนื่องจากในรุ่นหลังๆมานี่จะมีแค่คู่มือการใช้งานไม่มีวงจรมาให้ด้วย.วงจรด้านล่างนี้เป็นรุ่นเก่าซึ่งเท่าที่ผู้เขียนได้ดูพบว่าค่าอุปกรณนั้นได้เปลี่ยนไปแต่ก็แค่เล็กน้อยคิดว่าสามารถดูทดแทนกันได้
การซ่อมเริ่มต้นจากการสำรวจด้วยตาเปล่าส่วนมากจะมีRแตกให้เห็น,แต่ไดโอดจะต้องวัดหาว่ามีตัวไหนเสียไหม(ส่วนมากใช้เบอร์1N4148).เมื่อตั้งย่านการวัดผิดก่อนซ่อมควรต้องจำให้ได้ว่าเราตั้งย่านการวัดจุดไหนผิดซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการไล่วงจร,ในกรณีสมมุติว่าRขาดแต่ไม่แตก,ไม่ไหม้ให้เห็น
สมมุติจากอาการที่เจอบ่อยสุดคือตั้งย่านวัด.X1.แล้วไปวัดไฟ.220V.อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าถ้าโชคดีก็แค่ฟิวส์ขาดซึ่งมีสำรองให้ในกรณีที่ทำขาดอีกไม่ควรใช้ฟิวส์ที่ทนแอมป์สูงกว่าเดิม.หรือให้สูงกว่าเดิมแค่นิดหน่อยกรณีที่หาไม่ได้แล้วต้องรีบใช้งาน(ฟิวส์0.5A)
จากอาการสมมุติด้านบนคือตั้งค่าย่านผิดพลาดจากX1ถ้าดูจากวงจรลายวงจรจะผ่านR19ซึ่งเมื่อเทียบกับรูปต่อมาจะเห็นว่าตำแหน่งR19ระบุค่าไว้เท่ากับ19Ω..แต่เท่าที่ได้แกะซ่อมมาต่างล๊อตการผลิตได้พบว่าของจริงตำแหน่งR19อีกตัวเป็น18.2Ω,แต่อีกตัวเป็น18.3Ω..แต่ค่าดังกล่าวถือว่าแตกต่างกันเพียงน้อยนิดมากและถ้าหาอะไหล่ยากก็สามารถใช้ค่าตามวงจรคือ19Ωได้เช่นกัน
2รูปด้านบนเป็นมิเตอร์เข็ม_Sanwa_YX-361TR_เหมือนกันแต่ต่างล็อตการผลิตกันจะเห็นว่าค่าของอุปกรณ์นั้นมีค่าที่แตกต่างกันเล็กน้อย
ข้อควรจำ
ในการใช้งานมิเตอร์เข็มมีข้อควรจำท่องไว้_3_คำคือ_ดู-ก่อน-จิ้ม_คือให้ดูที่หน้าปัดมิเตอร์ก่อนทุกครั้งก่อนที่จะจิ้มปลายมิเตอร์ลงไปวัดว่าเราได้ตั้งค่าย่านการวัดไว้ถูกต้องหรือไม่_ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มิเตอร์เกิดความเสียหายนั่นเอง