ตัวต้านทานหรือที่นิยมเรียกกันสั้นว่า(R)ซึ่งจะพบได้บนเครื่องใช้อิเล็คทรอนิคส์ทั่วไปเพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญและจะต้องใช้งานอยู่มากและหลายค่าตามแต่ละภาคการทำงานซึ่งทำหน้าที่ค่อยดร็อปแรงดันและแบ่งแรงดันให้เหมาะสมกับการทำงานของวงจรในส่วนนั้นๆตัวต้านทานหรือรีซิสเตอร์ป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ถ้ามีความต้านทานมากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะน้อยลง,เป็นนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพาสซีฟสองขั้วที่สร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมขั้วทั้งสอง (V) โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน (I) อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทานของตัวนำมีหน่วยเป็นโอห์ม(Ω )
จริงๆแล้วตัวต้านทานมีหลายชนิดแต่คนโดยทั่วไป(ที่ไม่ใช่ช่าง)จะรู้จัก(R)แบบค่าคงที่(Fixed-Resistor)เพราะพบเห็นได้บ่อยและทั่วไปเมื่อพบเห็นประเภทที่แตกต่างไปจากที่เคยเห้นจึงเริ่มสงสัยว่ามันคืออุปกรณ์ชนิดไหนกันแน่ดังจะเห็นจากกลุ่มต่างๆที่มีโพสถามกันเป็นระยะๆ,เช่นแบบthermistor(ตามรูปบน)มักจะเห็นได้ทั่วไปตามภาคจ่ายไฟต่างๆ
เทอร์มิสเตอร์ (thermistor) เป็นอุปกรณ์ตัวต้านทานชนิดหนึ่ง ที่ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ โดยคำว่า เทอร์มิสเตอร์ มาจากคำว่า เทอร์มอล (ความร้อน) รวมกับคำว่า รีซิสเตอร์ (ตัวต้านทาน) โดยแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
- NTC (Negative Temperature Coefficient) คือชนิดที่ค่าความต้านทานจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น นิยมใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิ
- PTC (Positive Temperature Coefficient ) คือชนิดที่ค่าความต้านทานจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น นิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (Over current protection)
บทความอื่นๆ
เครื่องป้องกันช๊อต ซ่อมสวิทชิ่ง