Translate

วงจร PFC ในสวิทชิ่ง,วงจร PFC ในภาคจ่ายไฟ สำคัญอย่างไร


วงจร PFC ในงานซ่อมภาคจ่ายไฟประเภทสวิทชิ่งเรามักจะเจอกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งจะอยู่หลังจากวงจร Rectify  และจะอยู่ก่อนขาเข้าขดไพรมารี่(ปฐมภูมิ)ของหม้อแปลงสวิทชิ่ง PFC ย่อมาจาก Power Factor Correction แนะนำว่าอย่าพยายามแปลเพราะถ้าแปลออกมาตรงๆมันค่อนข้างจะฟังดูตลกมาก ๆ ทดลองแปลดูก็ได้  Power Factor Correction  = กำลัง(แรงไฟ)ปัจจัยความถูกต้อง จะเห็นว่าแปลออกมาแล้วไม่ได้ความหมายตามที่ต้องการเลย ฮร่า ๆ ๆ 


ก็แน่นอนว่ามันเป็นศัพท์ทางเทคนิคของช่าง หรือเรียกว่าศัพท์ช่าง แต่ละคำแต่ละประโยคมันมีความหมายในตัวอยู่แล้วหากแปลออกมาเป็นภาษาในทางการพูดคุยกันมักจะได้ความหมายที่มันติดตลกแบบนี้ หากจะแปลกันจริงน่าจะประมาณว่า การตรวจแก้กำลังแรงดันไฟให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย  ยาวมากเรียวกว่า วงจร PFC ง่ายกว่าเยอะ ^_^



สังเกตุรูปด้านบน วงจรที่ไฮไลท์สีแดงไว้คือวงจร PFC ทำหน้าที่บูทและรักษาแรงดันให้คงที่ส่วนใหญ่ในวงจรภาคจ่ายไฟแรงดัน ณ จุดนี้มักจะเป็น 400VDC(ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรด้วย) แม้ว่าแรงดันทาง Input ปกติ 220VAC จะตกลงมาแต่วงจร PFCจะยังคงรักษาแรงดันตรงนี้ให้คงที่ ***เคยมีการทดลองใช้แรงดัน Input ที่ 90VAC ก็ปรากฏว่าแรงดันที่ผ่านวงจร PFC ก็ยังไม่ลด ยังอยู่ที่ 400VDC เหมือนเดิม





ในการซ่อมเพาเวอร์ซัพพลายแบบสวิทชิ่งส่วนใหญ่เราจึงมักจะเห็นวงจรชุดนี้อยู่ก่อนทางเข้าขดลวดหม้อแปลงสวิทชิ่งเสมอเหตุผลเพราะต้องการรักษาแรงดันให้คงที่แม้ว่าจะเกิดเหตการไฟตกแต่วงจรสวิทชิ่งก้จะยังทำงานได้ต่อไป หากไม่มีวงจรชุดนี้ แม้ว่าวงจร PFC จะมีความสำคัญแต่หลายๆโปรดักก็ไม่ได้มีวงจรชุดนี้เสมอไป เพราะวงจรชุดนี้
ถ้ามีก็ดีไม่มีก็ได้  โปรดักไหนที่เขาต้องการลดต้นทุนก็จะไม่ใช้วงจรชุดนี้



ข้อสังเกต
สำหรับหลายๆคนที่ดูไม่ออกว่าวงจรไหนมีวงจร PFC หรือไม่มี วิธีสังเกตสไตล์ช่างบ้านๆให้สังเกตที่ C Filter ไฟสูงหากการทนโวลล์มากกว่า 400V  มักจะเป็นแบบที่มีวงจร PFC และหากวัดแรงดันที่ C จะได้ประมาณ 380-400VDC  








.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง