ไอเท็มยอดฮิตในหน้าร้อนอย่างน้อยก็คงต้องเป็นพัดลมตั้งโต๊ะหลายบ้านก็ต้องเปิดกันทั้งวันทั้งคืนกันเลยทีเดียว ยิ่งบ้านไหนมีเด็กแรกคลอดไปจนถึงเด็กเล็กนอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองจะร้อนกายแล้วก็ยังร้อนใจกลัวลูกจะร้อนกลัวลูกจะไม่สบาย หน้าร้อนช่วงต้นเดือนมีนาคมไปจนสุดเดือนพฤษภาคมกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วที่ค่าไฟเพิ่มขึ้นกันทุกบ้านและการประหยัดไฟในหน้าร้อนแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง |
ค่าไฟเพิ่มช่วงหน้าร้อนควเป็นเรื่องที่ต้องทำใจยอมรับเพราะคงไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้สิ่งที่ทำได้ก็คือการควบคุมค่าไฟไม่ให้แพงจนเกินไปหรือควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เรารับได้ การจะวางแผนควบคุมค่าไฟได้เราจะต้องเข้าใจในเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าบ้างพอสมควรจึงทำให้เราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่าและประหยัดไฟมากที่สุด
นอกจากนี้เรื่องของการบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟได้แล้วก็ยังช่วยยืดอายุเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย เช่น การดูแลบำรุงรักษาพัดลม แต่ถ้าเครื่องเสียไปแล้วก็ไม่แนะนำให้ซ่อมกันเองถ้าไม่ได้มีความรู้หรือความชำนาญเพราะจะเกิดอันตรายได้ถ้าพัดลมเสียแนะนำให้ส่งซ่อมกับช่างใกล้บ้านจะดีกว่า
ถ้าบังเอิญเสียก่อนหน้าร้อนเวลาไปส่งซ่อมแล้วต้องรอคิวซ่อมหรือช่างบอกว่าต้องรออะไหล่ก็คงจะพอที่จะรอได้แต่ถ้าเกิดว่าพัดลมเสียเอาช่วงหน้าร้อนพอดีวันเดียวก็คงจะไม่อยากรอ ทนหนาวอาจจะพอทนได้แต่ทนร้อนนี่คงไม่ไหวหากไม่ต้องการรอหรือรอไม่ไหวก็คงต้องซื้อพัดลมใหม่ คราวนี้จะซื้อแบบไหนดีเพราะมีเดี๋ยวนี้พัดลมมีให้เลือกหลายแบบ พัดลมตั้งโต๊ะ,พัดลมไอเย็น,แอร์เคลื่อนที่ จะเลือกแบบไหนดี
พัดลมตั้งพื้น
- การเลือกซื้อพัดลมตั้งพื้นแนะนำเลือกยี่ห้อที่มีชื่อเสียงมายาวนานดีกว่าเป็นอันดับแรกเลยแม้ราคาอาจจะสูงกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ แต่เรื่องความปลอดภัยมีมากกว่าแน่นอนประหยัดค่าไฟได้มากกว่า จากนั้นเลือกขนาดดูความเหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน การประหยัดไฟดูจากกำลังวัตต์ วิธีคำนวณค่าไฟจากกำลังวัต์
- ตัวอย่างยี่ห้อที่ได้รับมาตรฐานและผลิตพัดลมมายาวนาน เช่น Hatari , Imarflex , Mitsubishi , SHARP , Electrolux
พัดลมเพดาน
พัดลมเพดานและพัดลมติดผนังหลักการทำงานก็จะคล้ายกับพัดลมตั้งพื้นเพียงแต่มีการออกแบบมาเหมาะสำหรับการติดตั้งแบบคงที่ไม่ต้องการการเคลื่อนย้ายบ่อยอากาศการควบคุมสปีดก็เหมือนกับพัดลมตั้งพื้นคือมีทั้งที่เป็นแบบสวิทกลและสวิทอิเล็คทรอนิคส์ ขนาดก้นิยมเรียกชื่อตามขนาดของใบพัดเช่นกัน แต่พัดจะนิยมเรียกเป็น 2 แบบคือขนาดเล็ก(เท่ากับพัลมตั้งพื้นไม่เกิน20นิ้ว) ขนาดใหญ่ใบพัดตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป
- การเลือกซื้อพัดลมเพดานและพัดลมติดผนังยิ่งควรต้องเน้นยี่ห้อที่ได้มาตรฐานเนื่องจากตัวเครื่องจะต้องติดตั้งบนที่สูงการดูแลรักษาจำทำได้ยากกว่าแบบตั้งพื้นดังนั้นยี่ห้อที่ได้มาตรฐานมีแนวโน้มว่าจะคงทนกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ
- หากต้องติดตั้งภายนอกอาการควรเลือกรุ่นที่สามารถทนต่อสภาพอากาศภายนอกนอก เรื่องการทนแดด ทนฝน ทนต่อความชื้นต่างๆด้วย
พัดลมไอเย็น
- การเลือกซื้อพัดลมไอเย็นเนื่องจากยุคปัจจุบันมาตรฐานของพัดลมไอเย็นของแต่ละผู้ผลิตไม่ต่างกันดังนั้นเลือกซื้อตามงบประมาณและขนาดพื้นที่การใช้งานได้เลย
- ข้อดีของพัดลมไอเย็นคือให้ความเย็นได้มากกว่าพัดลมทั่วไป 5-10องศา เคลื่อนย้ายได้ง่ายและใช้งานได้หลากหลายพื้นที่
- แต่ข้อเสียคือต้องเติมน้ำอยู่เรื่อยๆ และต้องอยู่ในระยะใกล้เสียงค่อนข้างดัง(อาจจะไม่เหมาะกับเวลานอน)เนื่องจากลมต้องเป่าผ่าน Cooling Pad จึงทำให้เกิดเสียงดัง
แนะนำพัดลมตั้งพื้นขนาด 14 นิ้ว ,16นิ้ว |
- HATARI 14 นิ้ว รุ่น HE-T14M3
- IMARFLEX 14 นิ้ว รุ่น IF-448
- MITSUBISHI 16 นิ้ว รุ่น D16A-GB
- SHARP 16 นิ้ว รุ่น PJ-TA163
- Electrolux 16 นิ้ว รุ่น EDF1063
รายละเอียดราคาและส่วนลด
คลิ๊กเข้าไปดูตามแต่ละรุ่นด้านบนได้เลย
ศูนย์รวมช่างคุณภาพทั่วประเทศ
ร้านซ่อมทั่วประเทศ
ภายใต้การดูแลของชมรม Electronics Help Desk
ลูกค้าหาช่างซ่อมใกล้บ้าน หาช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆช่างติดตั้งแอร์ ช่างติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิดชมรมเรามีช่างคุณภาพมากประสบการณ์บริการอยู่ทั่วประเทศ ติดต่อสอบถามช่องทางแชทด้านล่าง แจ้งประเภทเครื่อง รุ่น(ถ้าทราบ) อาการเสีย และพิกัดที่อยู่ของท่าน ตำบล,อำเภอ,จังหวัด ช่องทางการติดต่อ |
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์`5`คือ`ฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่าง`ๆ`ผู้ออกฉลากประหยัดไฟในปัจจุบันคือกระทรวงพลังงานโดย`(จากเดิมที่ออกโดยการไฟฟ้า)`ยกเลิกระดับความประหยัดเบอร์`1`ถึงเบอร์`4`คงไว้เพียงเบอร์`5`แต่เพิ่มสัญลักษณ์ดาวที่จะระบุระดับคะแนนการประหยัดไฟเข้าไปแทน`โดยยิ่งมีดาวมากจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมาก
แต่ถึงจะมีฉลากเบอร์`5`หรือเบอร์`5`ติดดาวกำกับไว้หลายคนก็ยังงอีกว่าทำไม่เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเท่า`ๆกันทำไมกินไฟไม่เท่ากัน`การทดสอบได้มาตรฐานหรือไม่ เรามาทำความเข้าใจกันตรงนี้ว่ามาตรฐานการทดสอบของ`กฟผ.`คือทดการทำงานเต็มกำลังของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น`ๆ`24`ชั่วโมงแล้วคำนวณออกมาเป็น`1ปี`(365วัน)`การใช้งานจริงอาจไม่ตรงกับฉลากที่ระบุไว้ด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง`ๆ`และการใช้งานด้วย สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มได้ที่นี่ "ข้อมูลผลิตภัณฑ์ฉลากเบอร์5"
การคำนวณค่าไฟด้วยตัวเอง
เมื่อฉลากประหยัดไฟดูยังไงก็ยังงเช่นกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเดียวกันแต่ตัวเลขการกินไฟทำไมถึงต่างกันหรือในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางผู้ผลิตไม่ติดฉลากจะรู้ได้ยังไงว่ากินไฟเท่าไหร่`พูดถึงกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ติดฉลาก`ส่วนมากการตลาดของเขาจะเน้นผู้บริโภคฐานล่างคือเน้นราคาถูก`ดังนั้นจึงมีการลดต้นทุนการผลิตอาจทำให้หากว่าส่งเครื่องเข้าทดสอบเพื่อออกฉลาก`(มีค่าใช้จ่าย)`นั้นเขาคงไม่ได้เบอร์`5`แน่นอนก็เลยไม่ส่งเครื่องเข้าทดสอบดีกว่า
ซึ่งการติดฉลากเบอร์ 5 นั้นกฏหมายไม่ได้บังคับแต่การแสดงข้อมูลสินค้านั้นบังคับทุกกรณีดังนั้นไม่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าใดก็ต้องมีข้อมูลผลิตภัณฑ์แสดงมาทุกเครื่อง การคำนวณค่าไฟให้เราไปดูที่ข้อมูลผลิตภัณฑ์เช่นตัวอย่างในรูป
ให้เราดูที่กำลังไฟฟ้าจะเห็นว่าพัดลมเครื่องนี้มีกำลังไฟฟ้า`50W`ให้เอากำลังวัตต์หารด้วย`1000 *** คูณด้วยชั่วโมงการใช้งาน(ถ้าคิดต่อวันก็คูณวันที่ใช้ ถ้าคิดทั้งเดือนก็ประมาณเอาว่าเดือนหนึ่งใช้ทั้งหมดกี่ชั่วโมง)แล้วคูณด้วยค่าไฟต่อหน่วย
สมมุติว่าเราเปิดพัดลมเครื่องนี้(50W) ,วันละ 12 ชั่วโมง ,ค่าไฟหน่วยละ 5 บาท
50 ÷ 1000 x 12 x 5 = 3 บาท
วิธีนี้จะช่วยให้หายสงสัยได้กรณีที่บางคนยังสงสัยว่าเครื่องขนาดเดียวกันทำไมกินไฟไม่เท่ากันจากตัวอย่างที่คำนวณให้ดูนั้นเป็นพัดลมขนาด`16`นิ้ว`กำลังไฟ`50W ,ถ้าเอาพัดลม`16`นิ้ว`รุ่นอื่นที่กำลังวัตต์ต่างกันเช่น 49W`หรือ`57W`แม้จะเป็นพัดลมขนาด`16`นิ้ว`เหมือนกันแต่ก็จะกินไฟต่างกัน
กำลังวัตต์หารด้วย`1000`มากจากที่การไฟฟ้าคิดว่าไฟคำนวณจากการใช้ไฟ`1000W`ต่อ`1ชั่วโมง`เป็น 1 หน่วย`ดังนั้นถ้าเราเปิดพัดลมเครื่องนี้(50W)เป็นเวลา`1ชั่วโมงก็จะกินไฟ`0.05 หน่วย