บทนี้เขียนต่อจากบทความที่แล้วเรื่องการทำงานของไอซีกำเนิดพัลส์(Puls)ที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย.ทั้งในภาคจ่ายไฟ,วงจรชาร์จ,อินเวอร์เตอร์,ไมโครเวฟฯลฯ.ซึ่งหากสังเกตดูจะพบว่าแม้จะสามารถประยุกต์การทำงานได้หลากหลายแต่ก็ยังเป็นส่วนที่เกียวข้องกับระบบไฟทั้งนั้น.เพราะว่าเป็นไอซีกำเนิดพัลส์เพื่อนำไปใช้ในการขยายสัญญาณสวิทชิ่งนั่นเอง
ในบทที่แล้วได้อธิบายไปแล้วว่าไอซีเบอร์.TL494.กับ.KA7500.นั้นสามารถใช้แทนกันได้เลยเนื่องจากมีตำแหน่งขาและการทำงานที่เหมือนกัน.ส่วนมากเราจะคุ้นเคยการทำงานของไอซีตัวนี้กันในภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่งโดยเฉพาะใครที่ซ่อมสวิทชิ่งจีนบ่อยๆ.หรือเคยได้ซ่อมเพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์บ่อยๆ.จะต้องได้เห็นไอซีเบอร์นี้อยู่ในภาคจ่ายไฟอย่างแน่นอน
ในบทนี้จะนำตัวอย่างการออกแบใช้งานในวงจรชุดชาร์จแบ็ตเตอร์รี่จักรยานไฟฟ้า(Ebike)มาให้ดูกัน(ภาพตัวอย่างวงจรด้านล่าง)จะเห็นว่าเป็นวงจรชาร์จ36VDCลักษณะการทำงานก็เหมือนภาคจ่ายไฟสวิทชิ่งทั่วไปคือใช้สัญญาณPush-Pullเพื่อไปขับQ3,Q4และชุดสวิทชิ่งคือQ1,Q2ทำงานในลักษณะของฮาร์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์
จากวงจรการทำงานด้านบนมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือTRตำแหน่งQ1,Q2ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพาเวอร์สวิทชิ่งนั้นใช้เป็นเบอร์2SC4139ซึงสเปคจะสูงกว่าเบอร์ที่พบเจอในเพาเวอร์ซัพพลายทั่วๆไปอย่างเช่นเบอร์E13009หรือ2SC3320