ในปัจจุบันนี้มีคนจำนวนมากกล้าที่จะลงมือซ่อมภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่งซึ่งต่างจากเมื่อก่อนคนที่กล้าจะลงมือซ่อมคงจะมีเพียงช่างที่ทำงานโดยตรงหรือคนที่มีความสนใจในงานไฟฟ้างานอิเล็คทรอนิคส์พอจะมีทักษะการเป็นช่างอยู่บ้างถึงจะกล้าเพราะรู้ถึงความอันตรายเนื่องจากแรงดันไฟฟ้าในวงจรสวิทชิ่งนั้นจุดที่สูงที่สุดมีแรงดันถึง 300V-400V เลยทีเดียว
อาจจะด้วยปัจจุบันมีคลิปแนะนำการซ่อมจำนวนมากและแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความเข้าใจก็เข้าถึงได้ง่ายตรงนี้อาจจะเป็นเหตุผลที่หลายๆคนแม้ไม่มีทักษะก็ยังกล้าที่จะลงมือซ่อม หลายๆบทหลายๆคลิปที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการทำความเข้าใจหลักการทำงานเพื่อให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้ไปสู่งานซ่อมอื่นๆ
แต่ก็ยังคงมีหลายๆคนสอบถามเข้ามาอยากให้ช่วยชี้จุดเสียต่างๆซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเนื่องจากภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่งการทำงานของวงจรก็ด้วยอาศัยอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆตัวประกอบกันเป็นวงจรแม้หลายๆเครื่องอาการเสียจะเหมือนกันแต่จุดเสียนั้นอาจจะต่างกันได้ ในบทนี้จึงจะมาแนะนำการซ่อมภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่งโดยชี้จุดที่เสียบ่อยๆ และมีโอากาสเสียได้บ่อยๆยกตัวอย่างตามคลิปด้านล่างนี้เลยครับ