เมื่อคิดว่าเครื่องยังไม่เสียแล้วจะแก้อาการดังกล่าวยังไงหากลองเข้าGoogleเพื่อค้นหาการแก้อาการเครื่องอืด,เครื่องแฮงค์,เครื่องค้าง.คำตอบก็ไปในทิศทางเดียวกันคือต้องล้างเครื่อง(ทำความสะอาดเครื่อง)ใครที่มีทักษะก็คงไม่ลังเลที่จะแกะเครื่องเองแต่สำหรับใครที่แกะไม่เป็นก็แนะนำให้ปรึกษาช่างใกล้บ้านดีกว่านะครับ.ค่าใช้จ่ายในการล้างเครื่อง(ทำความสะอาดทุกอย่าง)จะอยู่ที่800-1000แล้วแต่ความยากง่ายของLayoutและยังไม่รวมถึงหากมีอุปกรณ์เสียหรือเสื่อมสภาพ
ซึ่งค่าใช้จ่ายประมาณนี้หลายๆคนยังคิดว่าสูงเกินไปอยู่จึงพยายามที่จะหาวิธีแกะเครื่องเองหรือให้คนใกล้ตัวที่พอทำได้แกะเครื่องเพื่อทำความสะอาดให้ในฐานะช่างซ่อมโน๊ตบุคไม่อยากแนะนำให้ทำเองเพราะว่าหากพลาดขึ้นมาอาจะถึงขั้นเมนบอร์ดช๊อตได้เลย.ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมเมนบอร์ดจะอยู่ที่1800-3000โดยประมาณ
ลองมาดูเหตุผลที่ไม่ควรแกะเครื่องทำเองเนื่องจากโน๊ตบุคส่วนใหญ่จะมีLayoutที่ซับซ้อนมีเพียงไม่กี่รุ่นที่แกะเครื่องได้อย่างง่ายดาย.ที่ไม่ควรแกะเครื่องเองอย่างแรกเลยคืออาจจะขันน๊อตทะลุบอดีความเสียหายอย่างเบาคือบอดีทำลุแลดูไม่สวยงามแต่ถ้าเป็นจุดที่ตรงกับเมนบอร์ดอาจจะทำให้เมนบอร์ดเสียหายได้.โดยเฉพาะยี่ห้อAsusซึ่งจะมีน๊อตหลายขนาดและแต่ละจุดใส่สลับกันไม่ได้
ภาพด้านบนนั้นคือตัวอย่างความผิดพลาดจากการขันน๊อตผิดจุดซึ่งอาจจะไม่ได้เสียหายถึงขั้นเมนบอร์ดเสียก็ทำให้ความสวยงามลดลงไปและเกิดเป็นตำหนิอันอาจส่งผลต่อราคาเครื่องหากจะขายเครื่องต่อให้คนอื่น.อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่าความผิดพลาดตรงจุดนี้อย่างเบาแค่เรื่องความสวยงามแต่ถ้าอย่างหนักก็ทำให้เมนบอร์ดเสียได้
อย่างต่อมาก็คือเมนบอร์ดเสียไม่ทราบสาเหตุอันนี้เกิดขึ้นบ่อยมากและเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุกคนที่แกะเครื่องต่างก็มั่นใจว่าสมารถทำได้โดยไม่มีปัญหาอะไรแต่เมื่อถึงคราวจะลองเครื่องปรากฏว่าเปิดไม่ติดบางเคสถึงขั้นควันขึ้นทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรอย่างอื่นนอกจากทำความสะอาดเลย.สาเหตเป็นเพราะว่า
ตัวบอดี้ของโน๊ตบุคจริงอยู่ว่ามันเป็นพลาสติกซึ่งเราเข้าใจตรงกันว่าพลาสติกไม่นำไฟฟ้าและเข้าใจกันว่ามันจะไม่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆช๊อตได้นั่นเอง.แต่ลองดูจากภาพข้างบนจะเห็นว่าพลาสติกภายในถูกเคลือบไว้ด้วยโลหะและมันนำไฟฟ้าได้ดังนั้นหากวางเมนบอร์ดไม่ดีมีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดการลัดวงจรเมื่อเปิดเครื่องอันนี้แหล่ะที่เป็นเหตุให้เมนบอร์ดเสียได้
แล้วโลหะที่เคลือบไว้บนพลาสติกภายในเมนบอร์ดมีประโยชน์อะไร?คำตอบก็คือช่วยป้องกันความถี่จากภายนอกเข้ามารบกวนเครื่องและป้องกันความถี่จากการทำงานของเครื่องจะไปรบกวนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆด้วยเนื่องจากระบบไฟบนเมนบอร์ดโน๊ตบุคเป็นสวิทชิ่ง(Synchronous-Buck-Converter)และมีอยู่หลายจุดด้วยกัน
เหตุผลอย่างต่อมาก็คืออาจจะทำบอดี้แตกได้อาจไม่ถึงขั้นแตกเป็นรอยแต่ที่เจอบ่อยๆคือทำบานพับหักหมุดทองเหลืองซึ่งเป็นตัวยึดน๊อตหลุดทำให้บอดีหลวมและโยกซึ่งพบเจอบ่อยที่สุดและวิธีการที่จะแกะโดยไม่ให้บอดี้แตกในลักษณะนี้นั้นยากมาก.แม้แต่ช่างที่มีความชำนาญแล้วก็ยังทำบานพับหลุดบ่อยเช่นกันเรียกได้ว่า90%ของการแกะเครื่องแต่ละครั้งเลยก็ว่าได้.เพียงแต่คนที่เป็นช่างนั้นสามารถแก้ไขซ่อมบอดี้ให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้.จึงไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
ดูจากรูปบนประกอบจะเห็นสีฟ้าที่ติดอยู่ที่ปลายน๊อตนั่นคือกาวLock-typeซึ่งเป็นน้ำยาเหลวเป็นน้ำเลยในขั้นตอนการพลิตตอนประกอบเครื่องน๊อตทุกตัวจะถูกจุ่มด้วยน้ำยาLock-type(แล้วแต่เบอร์)ก่อนที่จะขันประกอบเข้าเมื้อน้ำยาแห้งสนิทก็จะกลายเป็นกาวติดแน่นระหว่างน๊อตกับหมุดทองเหลืองซึ่งฝังอยู่ในบอดี้ซึ่งเป็นพลาสติกเมื่อนานๆไปพลาสติกเริ่มเสื่อมและกาวก็ยิ่งแน่นขึ้นทำให้เวลาขันน๊อตหมุดทองเหลืองจึงมักจะหลุดออกจากบอดี้
ซึ่งวิธีการแก้ไขผมเคยเขียนแนวทางไว้แล้วซ่อมบอดี้โน๊ตบุค แตก-หักแต่บอดี้โน๊ตบุคนั้นมีมากมายหลายแบบการแก้ไขก็ย่อมแตกต่างกันไป
การที่บานพับพัก,บอดี้หลวมนั้นส่งผลเสียอย่างมากกับเมนบอร์ดเนื่องจากตัวเมนบอร์ดจะอยู่ตรงกลางระหว่างบอดีนบน-ล่างเวลาเคลื่อนย้ายหรือมีการโยกหรือเมื่อเปิด-ปิดจอส่งผลให้บอดี้ขูดกับเมนบอร์ดอาจจะเกิดการลัดวงจรทำให้บอร์ดช๊อตหรือทำให้อุปกรณ์ชิปตัวเล็กๆหลุดหายทำให้เมนบอร์ดเสียในที่สุด
ทั้งหมดที่อธิบายมาเพื่อให้เห็นว่าไม่ควรแกะเครื่องเองเพราะสาเหตใดบ้างหรือหากใครได้อ่านจนเข้าใจแล้วหากจะแกะเครื่องเองจะได้เข้าใจว่าจะต้องระวังจุดใดบ้าง
----------------------------------------
สอบถามช่องทางติดต่อด้านล่าง