Translate

การอ่านค่า คาปาซิเตอร์ อีกชื่อหนึ่งเรียกว่าคอนเดนเซอร์หรือเรียกตามลักษณะการทำงานของตัวอุปกรณ์เรียกว่าตัวเก็บประจุชื่อย่อที่นิยมเรียกกันคือ( C )

 



คาปาซิเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่งที่หลายๆคนคุ้นกันเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นช่างมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายและในวงจรบนบอร์ดอิเล็คทรอนิคส์จะพบเห็นได้ง่ายและค่อนข่้างสะดุดตาอีกชื่อหนึ่งเรียกว่าคอนเดนเซอร์หรือเรียกตามลักษณะการทำงานของตัวอุปกรณ์เรียกว่าตัวเก็บประจุชื่อย่อที่นิยมเรียกกันคือ( C )





C_หรือตัวเก็บประจุนั้นมีมากมายหลายแบบหลายขนาดหลายรูปทรงเหตุผลก็เพื่อความสะดวกในการใช้งานบนเครื่องใช้ต่างๆที่ออกแบบมาเพื่อการนั้นๆโดยเฉพาะ_และค่าต่างๆนั้นมีมากแต่ค่าน้อยๆ(pF)ไปจนถึงค่ามากๆ(μF)การอ่านค่า_C_จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญสำหรับนักอิเล็คทรอนิคส์เพราะการบอกค่าบนตัวอุปกรณ์นั้นมีทั้งบอกเป็นค่ากำกับไว้เลยอันนี้ไม่น่ามีปัญหาอะไร_แต่บางทีก็จะบอกเป็นรหัสโค้ดไว้แบบนี้จะต้องแปลงโค้ดเป็นค่าอีกทีหนึ่ง


ก่อนจะไปการอ่านค่ามาดูหน่วยความจุของ_C_กันก่อน

ค่าความจุมีหน่วยเรียกเป็นฟารัด(farad)ใช้ตัวย่อเป็นตัว_F_

1,000pF (พิโกฟารัด) = 1nF(นาโนฟารัด)

1,000nF(นาโนฟารัด) = 1μF(ไมโครฟารัด)

1,000μF(ไมโครฟารัด) = 1mF(มิลลิฟารัด)

1,000mF(มิลลิฟารัด) = 1F(ฟารัด)

การอ่าน_C_ทั้งช่างและคนขายอะไหล่มักจะนิยมเรียกค่าความจุก่อนแล้วตามด้วยอัตราการทนโวลล์เช่นเช่น_1000μF50V_หากใครจะเรียกค่าทนโวลล์ก่อนก็ไม่ผิดอะไรเพียงแต่จะฟังดูตลกๆหน่อยเท่านั้นเอง


ตารางการอ่านค่า
จากตารางการอ่านค่าด้านบนหากเราต้องการจะอ่านค่า_C_ตัวนี้ตามที่ระบุบนตัวอุปกรณ์คือ_907_วิธีการอ่านให้เอา_90_ตั้งไว้แล้วเติมเลข_0_อีก_7_ตัวก็จะได้ค่าเท่ากับ_900,000,000pF(พิโกฟารัด)ซึ่งค่าที่ได้ยังเรียกยากเกินไปหากเอา_1,000_ไปหารก็จะได้เท่ากับ_900,000nF(นาโนฟารัด)ก็ยังเรียกฟังดูแปลกๆอยู่อีกให้เอา_1,000_ไปหารอีกก็จะได้เท่ากับ_900μF_คราวนี้ค่อยคุยกับคนอื่นเขารู้เรื่องหน่อยเวลาไปบอกคนขายคนขายก็จะได้ไม่งง_

ส่วนตัวอย่างการอ่านค่าอื่นๆดูได้จากคลิปด้านล่างนี้

-------------------------------------------------------------------------------



สนใจส่งเมนบอร์ดซ่อม ราคาส่ง 
สอบถามช่องทางติดต่อด้านล่าง

 



.
.






.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง