ต่อจาก จับมือซ่อมสวิทชิ่งจีน EP5 ในตอนแรกตั้งในไว้ว่า
ในส่วนพื้นฐานน่าจะจบในEP5แต่พอลงรายละเอียดแล้วเนื้อ
หาค่อนข้างยาวหากกระชับเนื้อหาเกรงว่าความเข้าใจในเนื้อ
หาจะไม่ครบถ้วน และแต่ละบทหากเขียนยาวเกินไปการจะ
ย้อนมาทบทวนเป็นเรื่องยากและมีโกาสที่จะอ่านข้ามรายละ
เอียดเนื้อหาสำคัญๆได้
ในบทที่แล้วได้อธิบายถึงเมื่อวงจรสวิทชิ่งทำงานมีการ
ขยายสัญญาณความถี่มีแรงดันไฟออกทาขดเซ็คคั่นดารี
2ขด อีกขดใช้สำหรับเป็นแรงดัน Output และอีกขดใช้
สำหรับเป็นไฟเลี้ยงให้ไอซีในสเต็ปที่2 นั่นคือความเดิม
จากตอนที่แล้ว
จากรูปบนเห็นว่าในขดบนนั้นเป็นแรงดันที่จะนำไปใช้งาน
เป็นไฟ Output ผ่านไดโอด2ตัวคือDB1และDB2ซึ่งเป็น
ดูอัลไดโอดเมื่อต่อรวมกันดังภาพจะได้เป็นบริดจ์ไดโอด
เรคติไฟร์เป็นไฟDCและกรองไฟให้เรียบโดยCฟิลเตอร์
3ตัวคือC12,C21และC22 ก็จะได้แรงดันไฟพร้อมสำหรับการ
นำไปใช้งาน
ในขดล่างนั้นจะถูกส่งผ่านที่D11และD12เร็คติไฟร์เป็น
DCและฟิลเตอร์ด้วยC18ึ่งวงจรชุดนี้ได้อธิบายไปแล้วในบท
ต้นๆในสเต็ป2นี้เป็นแรงดันไฟหลงจากที่สวิทชิ่งทำงานโดย
มีความถี่ทำให้แรงดันจุดนีมี12-19โวลล์แรงดันจุดนี้สามารถ
ขึ้นลงได้ตามการปรับแรงดัน Output
จากภาพบนให้สังเกตเส้นที่ขีเด้วยสีเทานั้นเป็นเส้นไฟลบ
ตามที่ขีดเส้นผ่านขดลวด L1 เพื่อกรองสัญญาณรบกวนและ
ผ่านอาร์ชันท์(R-Shunt)กระแสตกคร่อมตรงนี้จะถูกส่งผ่าน
R36ไปที่ขา15ของไอซีเพื่อเปรียบเทียบกระแสกรณีที่โหลด
ดึงกระแสเกินสังเกตค่าของ(R-Shunt)ค่าเพียง
3.9มิลลิโอมห์ เท่านั้น
วงจรต่อไปคือวงจรควบคุม Output คือควบคุมแรงดันที่
ออกไปใช้งานดูภาพบนประกอบจะเห็นว่าในส่วนสีแดงนั้น
รับไฟมาจากขาออกแล้วผ่านRแบ่งแรงดันและมีVR1ซึ่ง
สามารถปรับค่าได้ในการควบคุมโดยแรงดันที่แบ่งแล้วจะถูก
ส่งไปเปรียบเทียบที่ขา1ของไอซีตามภาพโดยมีเปรียบเทียบ
กับโวลล์เรฟเฟอนเร้นท์(VREF)จากขา14ของไอซีผ่านR
แบ่งแรงดันเหมือนกันที่ขีดเส้นสีเขียวส่งไปยังขา2ของไอซี
วงจรสุดท้ายที่จะอธิบายในบทนี้ก็คือวงจรป้องกันการช๊อต
(Protection) และวงจรซอร์ฟสตาร์ท (Solf Start) จะ
อธิบายวงจร(Solf Start)ก่อน ดูภาพบนประกอบ วงจรนี้
สำคัญมากเพราะจะควบคุมขนาดสัญญาณพัลส์ที่ออกจาก
ขาไอซีโดยไฟ(VREF)จากขา14ผ่านC24จากมากและค่อยๆ
ลดลงแรงดันจุดนี้ถูกส่งไปที่ขา4เป็นDead Time Control
ซึ่งถูกใช้เป็นSolf Start ด้วย
และอีกวงจรหนึ่งจากภาพบนคือวงจรProtectionทำหน้า
ที่ป้องกันวงจรกรณีที่โหลดช๊อตแรงดันไฟจากการProtect
จะถูกส่งไปที่ขา4ของไอซีเพื่อหยุดการทำงานคือหยุดจ่าย
สัญญาณพัลส์ ที่ขา4ในสภาวะที่ไฟมากจะสั่งจ่ายสัญญาณ
พัลส์ออกมาน้อยจนถึงขั้นหยุดจ่ายวงจร2ชุดนี้จึงถูกออก
แบบให้ทำงานร่วมกัน
บทนี้อาจจะยาวนิดหนึ่งเพื่อให้พิ้นฐานการไล่วงจรจบที่บทนี้
ในส่วนที่ต้องขยายความเพิ่มเติมจะทำเป็นคลิปอธิบายเพิ่ม
ในภายหลังแนะนำให้โหลดวงจรดูประกอบด้วยจะเพิ่มความ
เข้าใจยิ่งขึ้น ก็เป็นอันจบพื้นฐานการไล่วงจรสวิทชิ่งจีนใน
บทต่อไปจะมาอธิบายหลักการวิเคราะห์อาการเสียแต่ละจุด