Translate

จับมือซ่อมสวิทชิ่งจีน EP5

   ต่อจาก จับมือซ่อมสวิทชิ่งจีน EP4 บทที่แล้วได้อธิบาย

การจ่ายสัญญาณพัลส์จากไอซี(ขา8และขา11)จนมาถึงชุด

ไดร์สวิทชิ่งผ่านหม้อแปลงไดร์สวิทชิ่งมาจนถึงชุดสวิทชิ่ง

นั่นคือสุดทางของสัญญาณพัลส์(Puls)บางทีอาจจะเรียก

ว่าสัญญาณ PWM ก็สามารถเรียกได้เช่นกัน


  นั่นคือความเดิมจากตอนที่แล้วในบทนี้จะอธิบายถึงว่าเมื่อ

วงจรสวิทชิ่งทำงานแล้ว ซึ่งก็คือทรานซิสเตอร์สวิทชิ่งทั้ง2

ตัวทำงานแล้วและสัญญาณพัลส์มาถึงขาBแล้วผลลัพธ์ต่อ

ไปจะมีอะไรบ้าง


  ก่อนอื่นจะพามาทำความเข้าใจก่อนเนื่องจากว่าในบทที่

แล้วได้อธิบายว่าสัญญาณพัลส์ที่จ่ายออกจากขาไอซีนั้น

เป็นสัญญาณแบบ(Push-Pull) แต่การทำงานสวิทชิงจีน

เครื่องนี้นั้นไม่ได้เป็นแบบ Push -Pull Converter

แต่เป็นการทำงานแบบ Half-Bridge Converter


  ตามความเข้าใจของผมเอง(ไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาใดๆ)

คิดว่าการทำงานในแบบ Push -Pull Converter นั้นจะมี

ลักษณะการทำงานที่มีแรงดันตกคร่อมที่ตัวของสวิทชิ่งก็คือ

ทรานซิสเตอร์ตลอดเวลา การออกแบบจึงแก้ไขโดยการจัด

วงจรการทำงานเป็นแบบ Half-Bridge Converter ซึ่งคิด

ว่ามีความเป็นไปในเหตผลดังที่กล่าวมาเพราะสวิทชิ่งการทำ

งานแบบ Push -Pull Converter ไม่พบการใชงานแล้ว

ในปัจจุบันนี้


  คราวนี้ลองมาดูการทำงานของสวิทชิ่งจีนเครื่องนี้ที่ได้

บอกไปว่ามีการทำงานในแบบHalf-Bridge Converter

ดูภาพด้านบนประกอบจะเห็นว่าทรานซิสเตอร์สวิทชิ่งทั้ง2

ตัวนั้นจะถูกออกแบบให้สลับกันทำงานคนโยที่สัญญาณจะ

ถูกขยายโดยผ่านจุดร่วมของทรานซิสเตอร์เพื่อสร้างสนาม

แม่เหล็กที่ขดไพรมารี่ของหม้อแปลงสวิทชิ่งให้เหนี่ยวนำ

ข้ามไปยังขดเซ็คคั่นดารี่


  สังเกตุที่จุดร่วมที่ขีดเส้นสีแดงไว้จะเป็นกึ่งกลางการทำงาน

ร่วมกันระหว่างทรานซิสเตอร์สวิทชิ่งทั้ง2ตัวซึ่งในจุดนี้ขณะ

ทำงานจะมีความถี่ที่สูงมากอาจไม่สามารถวัดแรงดันไฟจุด

นี้ได้ หากใช้มิเตอร์เข็มจะวัดได้จุดนี้ประมาณ150โวลล์


   และเมื่อมีการเหนี่ยวนำไฟข้ามมายังฝั่งขดเซ็คคั่นดารี่แล้ว

จากภาพบนที่ขีดเส้นสีเขียวไว้ขดนั้นจะถูกนำไปใช้งานเป็น

แรงดันไฟ AC โดยจะผ่านวงจรเรคติไฟร์เป็น DCและวงจร

ฟิลเตอร์โดยขดบนนนั้นเป็นไฟ Output จะมีวงจรควบคุม

และฟีดแบ็คด้วย(ขออธิบายในบทถัดไป)


  ในขดล่างที่ขีดเส้นสีเขียวเส้นนี้จะถูกส่งไปเป็นไฟเลี้ยงไอซี

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงเล็กน้อยว่า ...เอ๊ะ !ไฟเลี้ยงไอซี

ถูกจ่ายไปแล้วไม่ใช่เหรอ ถูกต้องแล้วครับ ในขั้นต้นไฟเลี้ยง

ไอซีก็เดินทางผ่านจุดนี้ แต่การทำงานที่ยังไม่มีความถี่เข้า

ทำให้เมื่อเรคติฟายออกมาแล้วได้แรงดันไฟเพียง7-8โวลล์

เท่านั้น การทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานในสเต็ปที่2มีความถี่

เข้ามาควบคุมทำให้เมื่อเรคติไฟร์เป็น DC แล้วจะมีแรงดัน

มากถึง 19โวลล์ทีเดียว


   ในบทต่อไปจะเป็นบทสุดท้ายสำหรับพื้นฐานการไล่วงจร

และหลักการทำงานจะอธิบายถึงวงจรฟีดแบ็ค(Feedback)

และวงจรป้องกัน(Protection)

>>> EP 6 <<< จับมือซ่อมสวิทชิ่งจีน







.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง