ต่อจาก จับมือซ่อมสวิทชิ่ง EP2 สำหรับสวิทชิ่งจีน
ผมเชื่ออย่างยิ่งว่ายังมีอีกหลายคนยังงงๆไม่หายว่าไฟเลี้ยง
ไอซีมาจากไหน ไม่เฉพาะช่างใหม่ๆอย่างเดียวแต่ช่างเก่าๆ
ที่มีประสบการณ์แล้วด้วย เพียงแต่ว่าช่างที่มีประสบการณ์
ถึงจะไม่รู้ว่ามาจากไหนแต่ก็อาศัยประสบการณ์ในการซ่อม
ให้ผ่านไปได้ซึ่งตรงนี้มีความพิเศษที่สอนกันไม่ได้
หรือบางคนรู้ว่ามาจากไหนแต่ยังคงสังสัยต่อว่ามันมาได้
ยังไง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าช่างที่ประสบการณ์จะมีทริป
ในการที่จะซ่อมผ่านไปได้เมื่อซ่อมผ่านไปแล้วก็ไม่รู้สึกว่า
มีความจำเป็นอะไรที่ต้องรู้ ประมาณว่าถ้ามีโอกาสรู้ก็ถือว่า
ดีไม่รู้ก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับการเรียนรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีหากได้
รู้ได้เข้าใจที่มาที่ไปซึ่งจะต่อยอดไปในงานอิ่นๆด้วย
เข้าเนื้อหากันเลยเดี๋ยวจะยาวเกินไปถ้าใครได้อ่านบทที่แล้ว
(EP2)ผ่านมาแล้วก็คงจะได้เข้าใจดีกันแล้วว่าไฟเลี้ยงไอซีมา
จากไหนและมาได้ยังไง ในบทนี้จะมาอธิบายต่อว่าไฟชุดนี้
ไปไหนบ้าง
จากรูปบนวงจรชุดบนในเครื่องจริงจะไม่มีใช้งานเป็นวงจร
ไฟเลี้ยงพัดลม ในส่วนวงจรชุดล่างที่ขีดลากเส้นสีแดงนั่น
คือไฟเลี้ยงไอซี ซึ่งแรงดันไฟชุดนี้จะถูกจ่ายไปให้2ส่วนคือ
จ่ายไปเลี้ยงไอซีโดยตรงที่ขา12และไบอัสให้ทรานซิสเตอร์
ไดร์สวิทชิ่งQ2และQ3และผ่านR11ไปเลี้ยงทรานซิสเตอร์
ไดร์สวิทชิ่งที่ขาCทั้ง2ตัวดูภาพด่านล่างประกอบ
ภาพบนในจุดที่วงสีแดงไว้นั่นคือจุดเดียวกันซึ่งรับไฟมา
จากชุด+VCC เพื่อเป็นไฟเลี้ยงให้ไอซีเบอร์TL494หรือบาง
เครื่องอาจใช้ไอซีเป็นเบอร์KA7500ซึ่งทั้ง2เบอร์นี้ใช้งานทด
แทนกันได้ นอกจากเป็นไฟเลี้ยงให้ไอซีแล้วยังมีส่วนที่ส่งไป
ไบอัสทรานซิสเตอร์ไดร์สวิทชิ่ง ในแบบของวงจรโวลล์เตจ
ดิไวเดอร์ไบอัส ในส่วนที่ลากเส้นสีชมพูนั้นจะรับไฟจากชุด
+VCCเหมือนกันต่อผ่านR11เพื่อไปเลี้ยงไดร์สวิทชิ่ง ในขั้น
ต้นแรงดันไฟชุดนี้จะมีประมาณ7-8โวลล์เท่่านั้นเอง
***ข้อควรรู้เกี่ยวกับชุดไฟเลี้ยง+VCC ในขั้นต้นจะมีแรงดัน
ไฟแค่ 7-8โวลล์เท่านั้นและเมื่อไอซีทำงานแล้วมีการจ่ายสัญ
ญาณพัลส์ให้ไดร์สวิทชิ่งทำงาน จึงส่งผลให้สวิทชิ่งทำงาน
ตามนั้นเอง ในขั้นที่สองนี่เองเมื่อสวิทชิ่งทำงานแล้วไฟ+VCC
ถึงจะเพิ่มขึ้นเป็น 14-17โวลล์ในส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมจะ
กล่าวถึงในตอนถัดไป