วิธีลัดอ่านค่า R ให้รวดเร็วมีจริงไหม? ตอบว่ามีจริงแต่ว่าไม่ใช่วิธีที่เป็นทางการและเป็นวิธีที่ต่างคนต่างคิดเป็นกลยุทธ์เป็นเครื่องมือสำหรับการอ่านค่า R ออกมาให้ได้รวดเร็ว𓎆แต่ทว่าวิธีดังกล่าวของช่างแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกันเพราะว่าวิธีลัดจะไม่ใช่วิธีการตามหลักวิชาการก่อนจะแนะนำวิธีการดังกล่าวขอแนะนำว่านี่เป็นวิธีการส่วนตัวไม่สามารถนำไปอ้างอิงกับตำราวิชาการได้𓎆และสมควรอย่างยิ่งที่จะไปศึกษาที่มาที่ไปของทฤษฎีด้วย
สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการท่องจำค่าสีให้ได้ครบก่อนในงานอิเล็คฯ หรืองานอื่นๆในการศึกษาเรียนรู้ต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าส่วนไหนต้องจำ𓎆ส่วนไหนต้องทำความเข้าใจจึงจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษา𓎆ในส่วนของการอ่านค่า R ถึงแม้บทนี้ผมจะมาแนะนำวิธีลัดแต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือการท่องจำค่าสีให้ได้ ทั้งที่เป็นค่าตัวเลข𓎆และค่าสี
ค่าสีต่อไปนี้จะต้องท่องจำให้ได้ก่อนจึงไปขั้นตอนต่อไปได้
ดำ = 0
น้าตาล = 1
แดง = 2
ส้ม = 3
เหลือง = 4
เขียว = 5
น้ำเงิน = 6
ม่วง = 7
เทา = 8
ขาว = 9
ทอง = +/-5%
เงิน = +/- 10%
ไม่มีสี = +/-20%
***สังเกตว่าไม่มีสีก็นับด้วย เป็นไม่มีสี
เมื่อจำได้ทั้งหมดแล้วเข้าสู่วิธีลัดคือ
ดูภาพล่างประกอบสำหรับ R 3และ4แถบสี
- สีที่1 และสีที่2 เป็นตัวเลขบอกค่าตามที่อ่านได้
-สีที่ 3 เป็นตัวเลขบอกหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)หรือ K
จากภาพด้านบนจะอธิบายได้ดังนี้
สีที่1 น้ำตาล = 1
สีที่2 ดำ = 0
สีที่3 ส้ม = หลักสิบของ K
สีที่4 เงิน = ความคลาดเคลื่อน 10%
จึงอ่านได้เท่ากับ 10K 10%
***กรณีแบบ3แถบสี(คือไม่มีสีที่4)
ก็จะเท่ากับ 10K 20%
ข้อควรจำอย่างหนึ่งก็คือค่า R จะไม่ขึ้นต้นด้วย 0
หรือว่าสีดำ ดังนั้นกรณีเช่น ค่า 0.5Ω ตัวเลขหรือ
สีที่ปรากฏจะเป็นไปตามภาพด้านล่างนี้
ต่อไปลองมาดูแบบ5แถบสี
ดูภาพล่างประกอบสำหรับ R 3และ4แถบสี
- สีที่1 และสีที่2 เป็นตัวเลขบอกค่าตามที่อ่านได้
-สีที่ 3 เป็นตัวเลขจุดทศนิยม
-สีที่ 4 เป็นตัวเลขบอกหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)หรือ K
จากภาพด้านบนจะอธิบายได้ดังนี้
สีที่1 น้ำตาล = 1
สีที่2 ดำ = 0
สีที่3 ดำ = 0
สีที่4 ส้ม = หลักร้อยของ K
สีที่5น้ำตาล = ความคลาดเคลื่อน 1%
จึงอ่านได้เท่ากับ 100K 1%
วิธีลัดดังกล่าวเป็นเพียงเครื่องมือช่วยให้อ่านค่า R ได้รวดเร็วแต่อาจจะไม่ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการดังนั้นอย่าลืม ! ศึกษาที่มาที่ไปของพื้นฐานด้วย