Translate

การวางชิป IC SMD ตัวใหม่ให้ลงได้สนิท

 การถอดวางไอซีที่เป็นชิปตัวเล็กๆต้องอาศัยความชำนาญในระดับที่ดีพอสมควรบรรดาน้องๆช่างรุ่นใหม่จึงมักจะมีปัญหานี้สอบถามกันเข้ามาพอสมควร,ในเรื่องของความชำนาญมักจะบอกจะสอนกันยากเพราะต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลักหรือพูดง่ายๆคือขยันซ้อมนั่นเอง,แต่เนื่องจากช่างไม่ใช่นักกีฬาการซ้อมก็คือการฝึกหัดอาจจะเริ่มจากหัดถอดและหัดวางจากเครื่องเสียๆก่อนความชำนาญก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน





หากจะพูดถึงเทคนิคก็พอมีแนะนำบ้างแต่เป็นเทคนิคความถนัดเฉพาะตัวบางคนนำไปทำตามได้บางคนทำตามไม่ได้เพราะความถนัดของแต่ละคนนั่นต่างกัน,ปัญหาที่เจอบ่อยก็โดยเฉพาะการเปลี่ยนชิปไอซี(SMD)ตัวใหม่วางแล้วลงไม่สนิททำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่างนำไปสู่การหลงทางในการซ่อมก็มี





การวางไอซีตัวใหม่เนื่องจากไอซีแม้จะเป็นตัวใหม่แต่ไม่รู้ว่าผลิตมานานเท่าไหร่นานวันโดนอากาศโดนความชื้นบ้างขามีฝุ่นเกาะบ้างทำให้การเชื่อต่อไม่ดีแน่นอน,ดังนั้นก่อนจะวางตัวใหม่ให้ทำการแต้มตะกั่วที่ขาไอซีก่อนแล้วล้างด้วยน้ำยาโซเว่น(SOLVENT)หรือน้ำยาไอโซ่(IsopropylAlcohol)ให้สะอาดหรือถ้าใครทนกลิ่นได้จะล้างด้วยทินเนอร์ก็ได้เช่นกัน




ที่พื้นบอร์ดให้ทาฟลักซ์แนะนำฟลั๊กเบอร์NC-559-ASM-UVอาจจะราคาสูงหน่อยแต่ก็คุ้มค่าคุ้มราคาดีกว่าบอร์ดเสียหาย,เมื่อทาฟลักซ์แล้วให้เกลี่ยขาให้ทั่วๆแล้วล้างออกด้วยน้ำยาเช่นเดิม




ก่อนวางให้ทาฟลักซ์อีกครั้งหนึ่งต้องทางบางๆและให้ทั่วๆหากทาเยอะเกินไปเวลาใช้ลมร้อนเป่าเพื่อวางชิปไอซีเมื่อฟลักซ์เดือดไอซีจะลอยทำให้ควบคุมยาก



ความร้อนที่ใช้ตอนวางไอซีแนะนำตั้งแต่350องศาถึง450องศา(ต้องดูที่บอร์ดด้วย)ปรับความแรงของลมให้เหมาะพอดีกับความถนัดแนะนำว่าใช้ลมเบาที่สุด***แต่หากเบามากจะเกิดความร้อนสะสมที่ปลายลมร้อนอาจเสียหายได้,หลังจากวางเสร็จแล้วให้ส่องดูขาว่าลงสนิททุกขาหรือป่าวหากมองไม่ชัดก็ใช้แว่นขยายช่วย



ทั้งนี้เทคนิคที่แนะนำไปเป็นเพียงเทคนิคและความถนัดส่วนตัวบางคนอาจจะทำตามแล้วได้ผลบางคนอาจจะไม่ได้ผลให้ลองปรับเทคนิคให้เหมาะกับตัวเองที่สุดและฝึกทำบ่อยๆก็จะเกิดความชำนาญ










----------------------------------------
สนใจส่งเมนบอร์ดซ่อม ราคาส่ง 
สอบถามช่องทางติดต่อด้านล่าง

 











.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง