Translate

วงจรป้องกันในภาคจ่ายไฟ ( Protection)

 วงจรป้องกันวงจรในงานอิเล็คทรอนิคส์นั้นมีมากมายหลายแบบมาก.อย่างเช่นฟิวส์ก็ถือว่าเป็นวงจรป้องกันอย่างง่ายและต้นทุนถูก.นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายๆแบบที่ใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์อื่นๆมาทำงานร่วมกันเป็นวงจรโพรเทค(Protection).ในบทนี้จะยกตัวอย่างการนำเอาทรานซิสเตอร์(TR)ในวงจรภาคจ่ายไฟมาอธิบายการทำงานเพื่อป้องกันวงจร

สินเชื่อบุคคล ซิตี้


...เมื่อหลายวันก่อนได้อ่านคอมเม้นหนึ่งที่ช่องยูทูปของผมเองในคลิปเกี่ยวกับการแนะนำการวัดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคน์ในคอมเม้นพูดถึงว่าหลายๆ.ช่องหรือหลายๆ.บทความไม่ว่าที่ไหน.จะมีแต่การแนะนำการวัดอุปกรณ์แต่ยังไม่เคยมีใครอธิบายการทำงานของตัวอุปกรณ์บ้างเลย


...บทนี้จึงจะมาอธิบายการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้งานในวงจรอิเล็คทรอนิคส์อีกรูปแบบหนึ่ง.คือใช้เป็นวงจรป้องกันซึ่งจริงๆแล้วก็มีใช้งานและพบเจออยู่อย่างแพร่หลายแต่อาจจะพูดถึงกันน้อยกว่าวงจรที่ทำงานแบบขยายสัญญาณซึ่งทำงานหนักและเสียบ่อยจึงทำให้มีการพูดถึงกันเยอะ.สำหรับการต่อ.TR.ใช้งานในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือต่อให้ทำหน้าที่เป็นสวิทเปิด-ปิด.หรือเรียกว่าเป็นวาวล์ก็จะเข้าใจได้ง่าย


...การทำงานจะยกตัวอย่างการป้องการเมื่อโหลดช๊อต.ตัวอย่างที่เอามาให้ดูคือวงจร.Protect.ในภาคจ่ายไฟในบทนี้จะไม่เจาะจงว่าเป้นภาคจ่ายไฟของอะไรแต่จะยกตัวอย่างวงจรมาให้เห็นถึงภาพรวมแบบกว้างๆ.ซึ่งใช้งานได้กับการป้องกันภาคจ่ายไฟทั่วๆ.ไป.ตามภาพด้านล่างนี้

...หากดูจากภาพประกอบวงจรภาคจ่ายไฟที่ใช้.IC.เบอร์.TL494.เป็น.PWM.จะพบเห็นได้ทั่วไปในเพาเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์หหรือเพาเวอร์ซัพพลายอเนกประสงค์อย่างเพาเวอร์ซัพพลายจีน.IC.เบอร์นี้จะทำงานได้ที่ขา4ต้องมีไฟในแรงดันต่ำหรือเป็น.0V.เลยนั่นเอง.ด้วยหลักการที่กล่าวมาขาที่4จึงถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ป้องกันวงจรโดยมี.TR.เป็นตัวควบคุม.จากรูปบนจะเห็นว่า.TR.ตำแหน่ง.Q5.ทำหน้าที่เป็นวาวล์คอยเปิด-ปิดว่าจะให้แรงดันไฟไปที่ขา4หรือไม่(ในสภาวะปกติต้องไม่ปล่อยให้แรงดันผ่านไปที่ขา4)


...คราวนี้ลองดูที่+VDC.สมมุติว่าแรงดันตรงนี้เป็น.15V.ผ่านซีเนอร์ได้โอด.6.2V.ตามภาพบนก็จะเหลือประมาณ.8.8V(15-6.2=8.8V)แรงดันจุดนี้ก็จะส่งไปที่ขา.C.ของ.TR.ตำแหน่ง.Q5.ซึ่งถ้า.TR.ยังไม่ได้รับ.Vbe.แรงดันจุดนี้จะสามารถเลี้ยวไปตามไดโอด.D13.ไปที่ขา4.ของ.IC.ถ้าเป็นแบบนี้วงจรจะไม่ทำงานตามที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่าถ้าขา4.มีไฟวงจรจะไม่ทำงาน


...ดังนั้นจะต้องทำให้.TR.ตำแหน่งนี้ได้รับไบอัสตรงและจุดประสงค์คือป้องกันวงจรเมื่อโหลดเกิดการช๊อตจึงนำแรงดันตรง.Output.มาเพื่อไปอัสให้.TR.ดังรูปข้างบนโดยแรงดันที่ส่งมาจะถูกแบ่งแรงดันโดย.R.แบ่งแรงดัน.2ตัวถ้าดูตามวงจรตัวอย่างก็คือ.R31และ.R38.สมมุติว่าแรงดัน.Output.คือ.12V.แรงดันไฟที่เข้าไปไบอัสที่ขา.B.จะได้ประมาณ.2.169V.หรือ.2V.โดยประมาณนั่นเอง(คำนวณจากโปรแกรมด้านล่างนี้ได้เลย)


Volts (V)
Volts (V)

Click "Calculate" to update the field with orange border.

_____________________________________________
...เมื่อ.TR.ได้รับไบอัสตรงแรงดันที่ขา.C.ก็จะไม่สามารถเลี้ยวไปตามทางที่ไดโอด.D13.นำไปได้เพราะเมื่อ.Q5.ทำงานแล้วก็จะดึงไฟที่มาจาก+VDC.ลงกราวด์กลายเป็น.0V.วงจรก็จะยังทำงานต่อไปได้ตามปกติตามหลักการที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่าสภาวะปกติขา4.จะต้องไม่มีไฟวงจรจึงจะทำงานปกติ


...คราวนี้ถึงคราวการป้องกันวงจรเมื่อใดก็ตามที่โหลดเกิดการช๊อตนั่นก็คือจะดึงไฟตรง.Output.ตกลงด้วยเมื่อแรงดัน.Output.ไม่มีก็คือกลายเป็น.0V.แรงดันที่ไบอัส.TR.ก็จะหายไปด้วยเช่นกันจะส่งผลให้ขา.C.กับ.E.ของ.Q5.ไม่ถึงกันก็เปรียบเสมือนวาวล์ที่เคยเปิดให้ไฟไหลลงกราวด์ถูกปิดแรงดันไฟจึงไหลผ่านไปทางไดโอด.D13.แทนและถูกส่งไปยังขา4.ของ.IC.เมื่อขา4.มีแรงดันไฟก็จะสั่งให้.IC.หยุดทำงานในที่สุด...และนี่ก็คือตัวอย่างบางส่วนของการใช้.TR.ทำงานเป็นวงจรป้องกันโหลดช๊อต







.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง