ไดโอด(Diode)ทำได้มากกว่าแปลงไฟ.AC.เป็น.DC.ที่เอ่ยหัวข้อขึ้นมาแบบนี้เพราะว่าช่างมือใหม่ๆ.หรือมือสมัครเล่นหลายๆ.คนที่เพิ่งเริ่มต้นอาจจะลืมหรืออาจจะอยู่ในช่วงฝึกหัดยังไม่ได้ศึกษาหน้าที่ของอุปกรณ์มาดีพอ.บางคนยังคิดยังเข้าใจอยู่ว่าไดโอด(Diode)ทำหน้าที่แค่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)เป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC)เท่านั้น(Regtify)
.ด้วยคุณสมบัติของไดโอด(Diode)ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียวอีกหน้าที่หนึ่งในวงจรอิเล็คทรอนิคส์ของไดโอดคือป้องกันกระแสย้อนกลับได้หรือป้องกันหารต่อไฟผิดขั้วได้ดังเช่นกรณีที่วงจรใช้ภายจ่ายไฟภายนอก.การสังเกตุวงจรชุดนี้จะดูไม่ยากเพราะจะอยู่ตรงทางเข้าของไฟเลี้ยงหรือว่าแจ็คเสียบเลยจะมีฟิวส์,ขดลวดต่อร่วมอยู่กับไดโอดดังภาพประกอบ
อีกหน้าที่หนึ่งที่มีการใช้งานค่อนข้างเยอะคือการต่อใช้งานเป็นวงจรป้องกันแต่ไม่ค่อยพูดถึงกันหรือพูดถึงกัน้อยกว่าการทำงานของในรูปแบบวงจรเรคติฟาย.อาจจะเพราะว่าเสียไม่บ่อยเท่าไดโอดในวงจรเรคติฟาย.มักจะพบในวงจรอิเล็คทรอนิคส์ที่เป็นบอร์ดคอนโทรลเป็นส่วนใหญ่.และที่ผู้เขียนเห็นบ่อยสุดก็จะเป็นไฟทางเข้าเมนบอร์ดโน๊ตบุค
.การทำงาน(ดูภาพด้านบนประกอบ)ตัวไดโอดมักจะต่อไว้หลังฟิวส์ซึ่งหากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ.ก็คือตัวไดโอดจะทำหน้าที่เป็นผู้พลีชีพเพื่อปกป้องวงจรอย่างเช่นในกรณีที่กระแสเกินไดโอดก็จะเกิดดารช๊อตภายในตัวทำให้ฟิวส์ขาดตามไปด้วย,หรือหากมีการต่อไฟเลี้ยงกลับขั่วไดโอดจะเป็นตัวนำทางให้ขั่วบวก(+)และขั่วลบ(-)มาชนกันเองซึ่งกก็เปรียบเสมือนวงจรมีการช๊อตนั่นเองผลก็คือฟิวส์ก้จะขาดตามมา
.ซึ่งในกรณีหลังบางทีตัวไดโดดอาจจะไม่เสียเพราะฟิว์อาจจะขาดไปก่อน.การจัดวงจรป้องกันแบบนี้จุดประสงค์คือต้องการให้ฟิวส์ขาดโดยให้ขาดก่อนที่เข้ากระแสไฟจะเข้าไปภายในบอร์ดคอนโทรลหรือเมนบอร์ดซึ่งจะมีเพียงฟิว์ที่ขาดหรือไดโอดอาจจะเสียด้วยแต่ไม่สร้างความเสียหายให้กับตัวบอร์ดคอนโทรลเองหรือแหล่งจ่ายไฟก็ไม่เสียหายด้วย
ข้อสังเกตุ.ไดโอดจะถูกต่อใช้งานไว้หลังฟิวส์เพราะหากต่อไว้ก่อนฟิวส์เมื่อมีปัญหากระแสเกินหรือการต่อไฟเข้าวงจรผิดขั่วตัวฟิวส์จะไม่ได้รับภาระก็จะไม่ขาดความเสียหายจะไปเกิดที่แหล่งจ่ายไฟแทน
_______________________________________
สนใจส่งเมนบอร์ดซ่อมปรึกษาฟรี >>> ราคารับซ่อม