เมื่อตอนที่แล้ว จับมือซ่อมสวิทชิ่งจีน Lev.2 ตอนที่2 ได้พา
ดูจุด Test point การทำงานในสเต็ปแรกคือหลังจากที่ TR
สวิทชิ่งทำงานในสเต็ปแรกส่งผลให้ได้ไฟเลี้ยงชุดแรกของ
การทำงานไฟจะถูกส่งไปเลี้ยงยังภาคต่าง ๆ เช่น TR Drive
และ IC PWM สวิทชิ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นเบอร์ TL494 หรือ
KA7500 ซึ่งทั้ง 2 เบอร์นี้ใช้แทนกันได้เลย
เมื่อ IC PWM ได้รับไฟเลี้ยงมาถึงก็พร้อมที่จะทำงานโดย
ปล่อยสัญญาณพัลส์ (Puls) ออกทางขา 8 และขา 11 เป็น
สัญญาณในรูปแบบของ Push-Pull ข้อสังเกตการทำงาน
IC TL494 และ KA7500 คือให้ดูที่ขา 13 หากต่อลงกราวด์
สัญญาณพัลส์ที่จ่ายจากขา 8 และขา 11 จะเป็นสัญญาณ
แบบ Flyback ถ้าขา 13 ต่อไปรวมกับขา 14 สัญญาณพัลส์
ที่จ่ายจากขา 8 และขา 11 จะเป็นสัญญาณแบบ Push-Pull
กรณีของสวิทชิ่งจีนนั้นขา 13 ของไอซีจะต่อไปรวมกับขา
14 ดังนั้นเมื่อไอซีทำงานสัญญาณพัลส์ที่จ่ายออกมาจึงจ่าย
เป็นแบบ Push-Pull โดยเริ่มการทำงานขาที่ 4 (DTC)
ถูกออกแบบให้ทำงานเป็น Soft Start ด้วย
ในเส้นสีชมพูคือ VCC เป็นไฟเลี้ยงไอซีจะถูกส่งมายังขา 12
ของไอซี ได้อธิบายไปแล้วตั้งแต่บทต้น ๆ ว่าแรงดันไฟจุดดัง
กล่าวเบื้องต้นจะมีแรงดันไฟเพียง 8V เมื่อไอซีจ่ายสัญญาณ
พัลส์ออกมาจน TR สวิทชิ่งสามารถทำงานสเต็ปที่ 2 ได้แล้ว
แตงดันไฟจุดนี้จึงจะเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณเท่าตัว
ที่ขา14 ที่ขีดเส้นสีเขียวคือ VREF(Voltage reference)
เป็นแรงดันอ้างอิงซึ่งจะถูกใช้ไปอ้างอิงทั้งแรงดันและกระแส
สำหรับจุดที่ขีดด้วยเส้นสีเหลืองนั้นคือ สัญญาณพัลส์ที่จ่าย
ออกจากขาไอซีขา 8 และขา11 ตรงจุดนี้สามารถวัดเป็นแรง
ดันไฟได้ประมาณ 2VDC
โดยการจ่ายสัญญาณจะค่อยๆจ่ายออกมาโดยการควบคุม
จากแรงดันที่ขา 4 เริ่มต้นการทำงานขาที่4 จะมีแรงดันไฟ
มากผลจากการทำงานทำงานของวงจร Soft Start แรง
ดันจะค่อยๆลดลงจนเป็น 0V ในระหว่างที่ขา 4 มีแรงดันไฟ
มากสัญญาณพัลส์จะยังไม่ถูกจ่ายออกมา ระหว่างที่แรงดัน
ที่ขา 4 ค่อย ๆ ลดลงสัญญาณก็จะค่อย ๆ ออกมามากขึ้นจน
เป็นปกติ
เหตุผลก็เพราะว่าหากสัญญาณพัลส์จ่ายออกมาเต็มที่ตั้งแต่
แรกเริ่มทำงานอาจจะส่งผลให้ TR สวิทชิ่งช๊อตได้ในทันทีจึง
ต้องค่อย ๆ ให้สัญญาณจ่ายออกมาเพียงเล็กน้อยก่อนเพื่อไม่
ให้ TR ทำงานหนักในทันทีนั่นเอง
ใน Lev.2 อธิบายมาถึงจุดนี้ถือว่าครบตามจุด Test point
ต่าง ๆ อย่างครอบคลุมแล้วทั้งในวงจร Schematic และ
ตำแหน่งบน PCB Board ในบทต่อไปจะเริ่มต้นใน Lev.3
ซึ่งจะได้อธิบายการวิเคราะห์อาการเสียต่อไป