Translate

Power Dell Optiplex790 ชี้จุดเสียEP1

  Power Supply Dell Optiplex 790 หรือรุ่นใกล้เคียง

แม้ว่าปัจจุบันนี้(2020)อาจจะตกยุคไปแล้วสำหรับองค์กรณ์

หรือหน่วยงานต่างๆ ที่พูดอย่างนี้เพราะ PC Server รุ่นนี้จะ

นิยมใช้ตามหน่วยงานหรือองค์กรณ์ต่างๆมากกว่า ขณะนี้จะ

เริ่มเห็นหน่วยงานองค์กรณ์ต่างๆทยอยโล๊ะปลดระวางปล่อย

ขายลงตลาดมือสองเป็นจำนวนมาก

 ปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับรุ่นนี้คือเมื่อ Power Supply

เสียนอกจากจะหาซื้ออยากแล้วหากคิดจะซ่อมก็ยังยาก

ไม่แพ้กันด้วยรูปทรงที่แตกต่างไปจาก Power ATXทั่วไป

และขนาด PCB ก็ต่างจากที่มีใช้อยู่ทั่วไปด้วยจึงทำให้การ

หาซื้อ Power Supply มาใส่แทนของเดิมนั้นทำได้ยาก จึง

ต้องเหลือวิธีเดียวคือหาที่ซ่อม


  ปัญหามีอีกว่าหาที่ซ่อมยากเพราะร้านซ่อมคอมพิวเตอร์

ทั่วไปส่วนใหญ่ไม่รับซ่อมเนื่องจากเหตุผลเรื่องจุดคุ้มทุน

เหลือวิธีเดียวคือต้องซ่อมเอง ซึ่งจะได้แนะนำต่อจากนี้


  ก่อนจะลงมือซ่อมขอให้มั่นใจดังนี้ก่อนว่า มีความเข้าใจใน

พื้นฐานอุปกรณ์และวงจรบ้าง ทักษะการใช้เครื่องมือใช้ได้

ข้อสุดท้ายสำคัญต้องเข้าใจในความอันตราย


   เมื่อคิดว่าเข้าใจดีทุกอย่างแล้วก็ลงมือได้เลยก่อนอื่นเลย

มาทำความเข้าใจหลักการทำงานของ Power ATX ก่อน 

ดูภาพด้านล่างประกอบเราคงจะเคยได้ฟังเรื่องเล่าต่อๆกัน

มานานว่า Power ATX หากจั๊มเส้นสีเขียวแล้วพัดลมหมุน

คือใช้ได้ ถ้าไม่หมุนคือเสีย เมื่อเข้าสู่วงการช่างวิธีดังกล่าว

แนะนำว่าให้ลืมไปให้หมดแล้วมาเริ่มทำความเข้าใจใหม่

 

เข้าเรื่อง จากภาพบน จะเห็นการบอกตำแหน่งแต่ละขา

ของ Power ATX หากยังจำได้ไม่หมดให้จำให้ได้ 2 ขา

สำคัญก่อนนั่นคือขาเส้นสีเขียวเรียกว่า PS_on จุดนี้เมื่อ

เสียบไฟเข้า Power ต้องวัดได้ 3-5V หากไม่มีเลยถือว่า

เสีย  อีกขาที่ต้องจำก็คือเส้นสีม่วงเรียกว่า +VSB จุดนี้

ก็ต้องวัดไฟได้ 5V เหมือนกันหากไม่มีก็ถือว่าเสีย


  เมื่อเสียก็ต้องซ่อม คราวนี้เข้าเรื่องเสียที ฮร่า ๆ ๆ ที่ปูบท

มายาวเหยียดเพราะส่วนใหญ่ที่เข้ามาอ่านยังอยู่ในขั้นเรียน

รู้บางคนยังไม่เคยรู้มาก่อนก็มีการที่จะเฉลยผลทีเดียวไม่เกิด

ประโยชน์เพราะที่สุดแล้วจะไม่สามารถต่อยอดได้ เอาละ...

สำหรับ Power Supply Dell Optiplex790 หลังแกะ

เครื่องเสียบไฟให้วัดไฟสูงก่อนเลย(อย่าเพิ่งต่อโหลด)

ต้องได้ไฟประมาณ 300V จากนั้นให้ถอดสาย AC ออก

แล้ววัดไฟสูงอีกครั้งหนึ่งโดยปกติต้องมีไฟต้างที่ C


  ถ้าไม่มีไฟค้างให้เช็ค C ฟิลเตอร์ไฟสูงค่าประมาณ

120μF420V(บางวงจรอาจใช้ค่าสูงกว่านี้) แนะนำเช็ค C

ทางด้าน Ouput ด้วยโดยใช้  Multi-Funcion ดังรูปบน

สามารถวัดออกมาเป็นค่าความจุได้ ราคาก็ไม่แพงถ้าเทียบ

กับมิเตอร์ที่วัดค่า C ได้ หรือจะใช้มิเตอร์อนาล๊อคหรือมิเตอร์

เข็มวัดก็ได้ > วิธีวัด

สำหรับตัวที่เสียบ่อยๆคลิ๊กที่เฉลยด้านล่าง

   
    เ ฉ ล ย










.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง