จับมือสอนซ่อมสวิทชิ่งจีนในขั้นพื้นฐาน คือการพาไล่วงจร
ใน Schematic หรือเรียกว่าไล่วงจรในกระดาษ ซึ่งได้เขียน
ไปแล้วทั้งหมด 6 บท คือตั้งต้นทางไปจนถึงปลายทางและ
รวมถึงวงจรป้องกันต่างๆในตัวเครื่องด้วย
ในบทต่อไปนี้เป็นการขยับ Level เพิ่มระดับขึ้นมาจึงใช้ชื่อ
ว่าจับมือซ่อมสวิทชิ่งจีน Lev.2 ในขั้นนี้จะพาดูว่าในแต่ละ
จุดที่เคยอธิบายไปในขั้นพื้นฐานนั้นแรงดันไฟสภาวะปกติ
นั้นตามจุด Test piont หลักๆ นั้นมีแรงดันไฟเท่าไหร่
ดูภาพด้านล่างประกอบเริ่มจากทางเข้าเป็นไฟ AC
เส้นที่ขีดด้วยเส้นสีน้ำตาลคือเส้นไลน์ที่ตัวเครื่องจะสกรีน
เป็นตัว AC/L และเส้นที่ทำงานคู่กันจะมาคู่กันคือเส้นที่ขีด
ด้วยเส้นสีน้ำเงินคือเส้นนิวตรอน ที่ตัวเครื่องสกรีนเป็นตัว
AC/N และอีกเส้นหนึ่งก็คือเส้นกราวด์ที่ขีดด้วยเส้นสีเขียว
ที่ตัวเครื่องสกรีนเป็น FG หรือบางเครื่องอาจจะสกรีนเป็น
ตัวย่อ GND (Ground)
ข้อสังเกตจะเห็นว่าใน Schematic เส้นนิวตรอนนั้นจะ
ผ่าน RT1 เข้าไลน์ฟิลเตอร์ แต่วงจรใช้งานจริง RT1 จะ
ต่ออนุกรมกับฟิวส์
ในภาพต่อมา ดูภาพด้านล่าง ประกอบหลังจากที่ไฟ AC
มาถึงไดโอดบริดจ์ตำแหน่ง DB1หลังจากที่ได้เรคติฟาย
ออกมาเป็นแรงดันไฟ DC และฟิลเตอร์ด้วยC2 และ C3
ต่ออนุกรมกันจุดที่เป็นจุดร่วมเรียกว่าเซ็นเตอร์แท็ป การวัด
ไฟตรงจุดนี้หากวัดแรงดันไฟคร่อมที่ C ทั้ง 2 ตัวจะไวัดได้
300VDC โดยประมาณแต่ถ้าวัดคร่อม C แต่ละตัวจะได้
ประมาณครึ่งหนึ่ง
ข้อสังเกตจะเห็นว่ามี R2 ต่อขนาน(คร่อม) C3 และ R3
ต่อขนานกับ C3 การวัดไฟจุดนี้หากไม่พลิกแผ่นปริ้นท์ก็
สามารถวัดไฟจากด้านอุปกรณ์ได้โดยวัดคร่อมที่ขาของ R2
และ R3
ต่อมาหลังจากที่ได้ไฟสูงหรือไฟ 300VDC แล้วแรงดันไฟ
ชุดนี้จะถูกส่งไปที่ TR Switching ตำแหน่งQ4 ที่ขา C
ดูภาพล่างประกอบในเส้นที่ขีดสีแดงนั่นคือแรงดันไฟจุดนี้
จะมี 300VDC ดูที่ TR Q4 ที่ขา Bต้องมีไฟอย่างน้อย
0.6V เป็นอย่างต่ำ TR จึงจะทำงานได้(เส้นสีเขียว)
ดูที่ Q4 เมื่อได้รับไบอัส TR จะมีกระแสไหลผ่านระหว่าง
ขา C และ E จุดนี้(เส้นสีชมพู)จะวัดแรงดันไฟได้ประมาณ
ครึ่งหนึ่งของไฟสูง คือ 150VDC
ข้อควรจำอย่างหนึ่งคือตรงจุดที่ขีดเส้นสีชมพูในขณะที่
TR ได้รับไบอัสตรงจะเริ่มการทำงานแต่จะยังไม่ขยาย
สัญญาณหากที่ขา B ยังไม่มีสัญญาณพัลส์มาถึงจะสามารถ
วัดแรงดันไฟได้ตามปกติ แต่เมื่อใดสัญญาณพัลส์ถูกส่งมา
ถึงขา B ของTR ทั้ง Q4 และ Q1 จะเกิดการขยายสัญญาณ
ทำให้จุดนี้มีความถี่ที่สูงมาก ๆ การวัดไฟตรงจุดนี้ขณะที่มี
ความถี่งสูงอาจจะวัดไม่ได้
*** หากใช้มิเตอร์ดิจิตอลจะวัดแรงดันไฟไม่ได้เนื่องจาก
ตัวเลขอาจกะพริบ(อาจจะมีบางรุ่นวัดได้) ถ้าหากใช้
มิเตอร์เข็ม หรือมิเตอร์อนาล็อคจะวัดได้เป็นแรงดันไฟ
ประมาณ150VDC แต่เข็มอาจจะสวิงเล็กน้อย แต่ก็ไม่
ส่งผลเสียอะไรถือว่าเป็นผลดีเพราะสวิทชิ่งทำงานแล้ว