ต่อจากปฐมบทที่2 (สวิทชิ่ง)บล็อกไดอะแกรมพื้นฐานในบท
ที่แล้วได้อธิบายถึงการทำงานของภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่ง
ซึ่งได้แบ่งภาคการทำงานออกเป็นส่วน ๆ เรีบกว่าบล็อกไดอะ
แกรม เมื่อเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานภาคจ่ายไฟแล้ว

บทนี้จะมาแนะนำวงจรการทำงานภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่ง
ซึ่งถ้าเอาตามพื้นฐานการทำงานของสวิทชิ่งจะมีประมาณ
5แบบ+1-2 แบบส่วนที่บวกเพิ่มในส่วนความเห็นส่วนตัวของ
ผมไม่เรียกเป็นแบบที่ 6,7เพราะว่าใน 2แบบหลังเป็นแบบต่อ
ยอดมาจากการทำงานใน 5แบบหลัก ๆ นั่นเอง ซึ่งสามารถ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สวิทชิ่งพื้นฐาน 5 แบบ

ในบทนี้จะอธิบายถึงหลักการทำงานของสวิทชิ่งแบบ
- ฟลายแบ็คคอนเวอร์เตอร์ (Flyback Convertert)
- ฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ (Forward Convertter)
ทั้ง 2 แบบนี้คล้ายกันมากแทบแยกไม่ออกและใช้สัญญาณ
ต้นทางคือสัญญาณพัลส์ (Puls) แบบเดียวกันจึงจะนำมา
อธิบายแบบคร่าวๆไว้รวมกันสวิทชิ่งแบบนี้ไอซีพัลส์ หรืออาจ
จะเรียกว่า IC PWM ก็เรียกได้เช่นกันไอซีที่พบบ่อย ๆ มัก
จะเป็นเบอร์ UC3842 ถือเป็นเบอร์ยอดนิยมมีใช้งานมา
ตั้งแต่ยุคแรกๆจนกระทั้งมาจนถึงยุคปัจจุบันก็ยังนิยมใช้อยู่
ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบ SMD


ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกและเหมาะสมในการใช้งานปัจจุบัน
มักจะนิยมใช้ในภาคจ่ายไฟที่ไม่ต้องการกระแสที่สูงมาก
ชมคลิปอธิบายด้านล่างนี้ครับ
จะเห็นว่าสวิทชิ่งในแบบนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานการทำงานของ
สวิทชิ่งเลยทีเดียวและยังคงนิยมใช้งานกันมาจนถึงยุค
ปัจจุบันเนื่องจากการทำงานของสวิทชิ่งแบบนี้จะไม่ค่อยมี
ความซับซ้อนมากและประหยัดอุปกรณ์ทำให้ผู้ผลิตสามารถ
ควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างดีด้วย

หลักการทำงานของสวิทชิ่ง 2แบบนี้อย่างที่กล่าวไปข้างต้น
ว่าแทบจะแยกกันไม่ออกเพราะคล้ายกันมากและยังนับว่า
เป็นรุ่นครูก็ว่าได้หรือจะบอกว่าเป็นสวิทชิ่งต้นแบบก็คงไม่ผิด
อะไรช่างรุ่นเก่า ๆ หลายคนก็ได้เริ่มต้นการเรียนรู้จากสวิทชิ่ง
ทั้ง 2แบบนี้แล้วค่อยศึกษาเพิ่มตามยุคสมัยและการพัฒนา
ของเทคโลโลยี

สำหรับการนำไปใช้งานของแต่ละผลิตภัณฑ์นั่นอาจมีจุดที่
แตกต่างกันบ้างอาจะมีบางส่วนที่ตัดออกไปอาจจะมีบางส่วน
ที่เพิ่มขึ้นมาเนื่องด้วยในยุคปัจจุบันมีการออกแบบเครื่องใช้
เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆขึ้นมาอย่างมากมายและรูป
ทรงล้วนแตกต่างไปตามการใช้งาน

ในบทต่อไปจะมานำเสนอในส่วนของสวิทชิ่งอีก 3แบบซึ่ง
อาจจะต้องนำเสนอรวมกันก็เพราะคล้ายกันและมีความเกี่ยว
เนื่องกันมากด้วย