Translate

พื้นฐาน(ก่อนเรียนซ่อมเมนบอร์ด)

  เมื่อเริ่มคิดอยากซ่อมเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ หลายๆคนไม่ได้มีพื้นฐานมาก่อนก็อาจะเริ่มต้นไม่ถูกไม่รู้จะเริ่มยังไง การทดสอบ Power Supply น่าจะเป็นสิ่งเดียวที่น่าจะรู้กันอย่างแพร่หลายเพราะว่าเรื่องนี้บอกเล่ากันมานาน ท่องจำต่อๆกันมาก็นาน ว่าให้จั๊มเส้นสีเขียวกับเส้นสีดำเข้าด้วยกันแล้ว Power Supply ถึงจะจ่ายไฟออกมา แต่การที่มีไฟออกมานั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็น Power Supply ดีเสมอไป

 
นั่นแค่เพียงการสันนิษฐานเท่านั้นหากไปเจอเครื่องที่ไม่มีสีระบุจะมีวิธีทดสอบแบบไหนไม่ต้องตกใจเพราะ สำหรับ Power ATX ค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานหากไม่มีสีบอกสามารถนับขาตามรูปบนได้เลย แต่หากต้องการเรียนรู้ให้ลึกไปกว่านี้จำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมซึ่งจะได้แนะนำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมกันครับ



  Power Supply แบบ ATX ทุกๆรุ่น จะมีไฟ  2ชุด ออกมาก่อนไฟชุดอื่นเสมอคือ VSB (เส้นสีม่วง)จะมีไฟประมาณ 5V  และไฟ PS_on (เส้นสีเขียว) จะมีไฟประมาณ 3-5V   ในส่วนของการจัดวงจรเพื่อนำไปใช้งานบนเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์จะเห็นอยู่ประมาณ3แบบด้วยกัน 

 หลักการทำงานมีอยู่ว่าทันทีที่เสียบปลั๊กซ์ Power Supply จะจ่ายไฟเข้าออกมา 2ชุดคือ VSB หรือเรียกว่าไฟสแตนบายเพราะไฟชุดนี้จะถูกต่อเข้าไปที่เมนบอร์ดเพื่อไปเลี้ยง EC และชิปเซ็ทก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อเตรียมพร้อมการทำงานซึ่งในสภาวะปกติหลังจากได้รับไฟเลี้ยงแล้วก็จะมีแรงดันไฟประมาณ 3-5V ไปที่สวิทเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเครื่องดั่งภาพด้านล่าง


ไม่ว่าการออกแบบชุดแสตนบายจะแตกต่างกัน แต่ก็ยังคงใช้ไฟเลี้ยงแสตนบายจากจุดเดิม ไม่เฉพาะไฟแสตนบายแต่ไฟชุดอื่นๆก็ยังคงจุดเดิมไว้เป็นมาตรฐาน Power จึงสามารถใช้ได้กับทุกๆเมนบอร์ด



มาต่อกันที่หลักการทำงานกันต่อ หลังจากที่ EC และ Southbridge ได้รับไฟเลี้ยงและส่งแรงดัน(สัญาณ PWR BTN)ไปที่สวิทแล้วเมื่อเรากดสวิทออน(เปิด)เครื่องวงจรจะดึงไฟเส้น PS_on (เส้นสีเขียว)ทำให้สถานะไฟ PS_on กลายเป็น 0 ***คนละกรณีที่ไม่มีไฟตั้งแต่แรก ถ้าไม่มีไฟตั้งแต่แรกคือ Power เสีย

ไฟ PS_on กลายเป็น 0 ไฟชุดอื่นๆที่เหลือจะถูกจ่ายออกมาเพื่อไปเลี้ยงวงจรบนเมนบอร์ดต่อไป และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดหลังจากที่ไฟชุดอื่นจ่ายออกมาประมาณ 25ms(มิลลิวินาที)ไฟเพาเวอร์กูด Power Good บางวงจรอาจจะเขียนว่า Power OK [ PWR Good,PWR OK ] เพื่อยืนยันการทำงานที่สมบูรณ์

  จากภาพจะเห็นว่าตำแหน่งสวิทออนเครื่องจะอยู่คนละตำแหน่ง โดยมี IC ECหรือ I/O ทำงานร่วมกับชิปเซ็ท Southbridge ซึ่งในรุ่นหลังๆ ตัวชิป Southbridge จะไปรวมอยู่กับชิป Nortbridge นี่ก็คือหลักการเบื้องต้นการทำงานของระบบไฟเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ในส่วนการทำงานอื่นๆจะลงรายละเอียดในบทต่อๆไป







.

อิเล็คฯ วิทยาคม

อิเล็คฯ วิทยาคม เพื่อการศึกษาเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ขั้นพื้นฐานเป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนอิเล็คทรอนิคส์ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ช่างอิเล็คทรอนิคส์มักจะมีงานให้ทำตลอดเพราะเป็นตำแหน่งที่ตลาดจ้างงานมีความต้องการมากและนอกจากนั้นยังสามารถทำงานอิสระได้เช่นเปิดร้านรับซ่อม ช่างอิเล็คทรอนิคส์แม้ไม่ได้ศึกษาในระบบปกติของโรงเรียนสายอาชีพ แต่หันมาศึกษาหลักสูตรระยะสั้นแม้จะไม่มีวุฒิการศึกษา ปวช. ,ปวส. แต่ก็สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญเป็นช่างที่เก่งสามารถประกอบอาชีพอิสระเป็นช่างอิเล็คทรอนิคส์ เป็นผู้ประกอบการได้เช่นกัน 

สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอนี้เป็นเนื้อหาสำหรับเรียนรู้ด้วยตัวเองรายละเอียดเนื้อหาจะกระชับสั้นเพื่อที่ผู้มีเวลาน้อยจะได้ศึกษาดังนั้นการเรียนรู้จะได้ผลลัพท์ที่ดี ผู้เรียนต้องมีวินัยต่อตนเองการหมั่นลงมือทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้จะเสริมความเข้าใจที่ได้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้ 


เนื้อหาหลักสูตร 


ไฟฟ้าเบื้องต้น 

วงจรไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์เบื้องต้น

กฏของโอห์ม วงจรไฟฟ้า

ฝึกวิเคราะห์วงจร

การต่อสวิท 3 ทาง

ฟรี มูลค่า 1,100.- (สนับสนุนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกและดี)

✦ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์พื้นฐาน อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวัดค่าอุปกรณ์เบื้องต้น(เพื่อวิเคราะห์งานซ่อม) อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,500.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

✦ การใช้เครื่องมือ ,การฝึกประกอบชุดคิท อยู่ระหว่างจัดทำ

✦ การวิเคราะห์วงจรและอาการเสียเบื้องต้น อยู่ระหว่างจัดทำ

ฟรี มูลค่า 2,900.- (สนับสนุนโดยร้านเครื่องมือช่าง)

-------------------------


ต่ อ อ า ยุ W i n d o w s 1 0

โพสต์แนะนำ

ลงโปรแกรม Office 2016-2021 ด้วยตัวเอง

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ทำ USB ลง Windows เอง